20 กันยายน 2551

พันธมิตรฯให้เวลาสมชาย ตั้งครม.ได้ก่อนค่อยเจรจา


พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พร้อมด้วย นายพิภพ ธงไชย และนายสมศักดิ์ โกศัยสุข 3 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมกันแถลงข่าวประจำวัน โดย พล.ต.จำลอง กล่าวถึงความคืบหน้าหลังจากนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ได้โทรศัพท์พูดคุยเจรจากับนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ว่า ยังไม่ได้หารือในรายละเอียดว่าจะเป็นวันใดและจะเจรจาเรื่องใดบ้าง แต่นายกรัฐมนตรีถามว่าต้องการให้รัฐบาลทำอะไรบ้าง และขอให้รัฐบาลทำงานก่อน ขณะนี้จึงถือว่ายังไม่มีความคืบหน้า เพราะนายกรัฐมนตรีมีภาระเร่งด่วนคือการตั้งรัฐบาล ตั้งรัฐมนตรี ที่ยังแย่งโควตากันอยู่จนไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้ ทางแกนนำพันธมิตรฯ จึงเปิดโอกาสให้แก้ไขปัญหาภายในพรรคไปก่อน แต่พันธมิตรฯ ยังคงยืนยันในจุดยืนเดิมคือค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และไล่รัฐบาลพรรคพลังประชาชนเพื่อเปิดทางการเมืองใหม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเจรจากับนายกรัฐมนตรีแล้วจะออกจากทำเนียบรัฐบาลหรือไม่ พล.ต.จำลอง กล่าวว่า เป็นเรื่องของสถานการณ์ แกนนำพันธมิตรฯ จะต้องประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง และสอบถามความเห็นประชาชนที่มาร่วมชุมนุมก่อน เพราะคนเหล่านี้มาด้วยใจ อยู่ดีๆ จะบอกว่าให้ถอยออกจากทำเนียบฯ ผู้ชุมนุมก็คงหมดความเชื่อถือ เมื่อถามย้ำว่า ท่าทีแกนนำพันธมิตรฯ อ่อนลงจากก่อนหน้านี้ที่ไม่ยอมเปิดเจรจากับรัฐบาล พล.ต.จำลอง กล่าวว่า อย่าใช้คำว่าท่าทีอ่อนลง เพียงแต่นายสมชายโทรศัพท์มาพูดคุย ก็ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี เราเป็นคนไทยด้วยกัน หากต้องการมาพูดคุยก็มาได้ตลอดเวลา แต่ขณะนี้ยังไม่มีการประสานว่าจะมาเมื่อไร ยังไม่มีการส่งตัวแทนมาเจรจา และทางพันธมิตรฯ ก็ไม่ได้มอบหมายให้ใครเป็นพิเศษในการเจรจา
"แกนนำทุกคนเปิดกว้าง สามารถโทรมาคุยกับทุกคนได้ตลอดเวลา และเมื่อได้ผลการเจรา ก็จะนำเข้าสู่ที่ประชุมแกนนำอีกครั้ง ขณะเดียวกันพันธมิตรฯ ไม่ได้ปิดกั้นว่าจะต้องเจรจากับนายกฯ เพียงคนเดียว แต่ถ้าจะส่งตัวแทนมาก็ต้องเป็นบุคคลที่มีอำนาจในการตัดสินใจและน่าเชื่อถือ ขอทุกฝ่ายอย่าเพิ่งเร่งรัด ให้นายกฯ ได้ทำงานก่อน" พล.ต.จำลอง กล่าว
ส่วนกรณีที่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ระบุว่าการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ เป็นการช่วยพรรคประชาธิปัตย์ให้เป็นรัฐบาล พล.ต.จำลอง กล่าวว่า คุณหญิงสุดารัตน์ บอกว่าไม่ยุ่งการเมืองแล้วหลังศาลรัฐธรรมนูญพิพากษา แต่ก็ยังเข้ามาจัดโควตารัฐมนตรีได้ทุกครั้ง ซึ่งเป็นเหตุผลว่า ทำไมพันธมิตรฯ ต้องเรียกร้องให้มีการเมืองใหม่ เพราะการเมืองเก่าแก้ปัญหาอะไรไม่ได้ พันธมิตรฯ ไม่ได้ช่วยพรรคประชาธิปัตย์ เพียงแต่ต่อต้านการซื้อเสียง การทุจริต คอรัปชัน ยิ่งมีการแย่งตำแหน่งกันมากเท่าใด ก็เป็นความชอบธรรมของพันธมิตรฯ ที่จะชุมนุม
ขณะที่นายพิภพ กล่าวว่า ในวันที่ 21 ก.ย.นี้ พันธมิตรฯ จะเปิดเวทีรับฟังความเห็นเรื่องการเมืองใหม่ ภายในทำเนียบรัฐบาล เนื่องจากแกนนำออกไปจัดข้างนอกไม่ได้อาจจะโดนจับกุม การจัดเวทีรับฟังความเห็นจะมีนักวิชาการและตัวแทนกลุ่มวิชาชีพบางส่วนมาร่วมแสดงความเห็น เมื่อได้โครงร่างจากเวทีนี้ก็จะนำไปสู่ที่ประชุมแกนนำพันธมิตรฯ เพื่อมาประกาศในเบื้องต้นในวันที่ 22 ก.ย. เพื่อให้สาธารณชนร่วมกันแสดงความคิดเห็น ว่ารูปแบบที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตาม อยากให้ชมรมวิชาชีพสื่อสารมวลชน ระดมความคิดเห็นเรื่องนี้ด้วย เพราะขณะนี้เรื่องการเมืองไม่ใช่หน้าที่ของพันธมิตรฯ องค์กรเดียว เป็นเรื่องของสาธารณชนที่ต้องช่วยกันหาทางรอดให้กับประเทศ
ด้านนายสมศักดิ์ กล่าวถึงข่าวที่จะมีการสลายม็อบพันธมิตรฯ ในวันที่ 22 และ 23 ก.ย.นี้ ว่า พันธมิตรฯ จ.ศรีสะเกษ แจ้งข่าวมาว่าในวันดังกล่าว ช่วงเช้าจะมีคนน้อยก็จะสลายม็อบ หากมีการสลายม็อบจริง สมาพันธ์รัฐวิสาหกิจ (สรส.) จะนัดหยุดงานอีกแน่นอน ซึ่งการสลายม็อบครั้งแรก สรส.ก็ได้หยุดงานทั่วประเทศไปแล้ว รัฐบาลต้องรับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้น

16 กันยายน 2551

ช่วยบอกฉัน................ที

อะไรจะเกิดขึ้น....เมื่อ... นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (น้องเขย แม้ว)
ขึ้นแท่นนายกรัฐมนตรี คนปัจจุบัน




หลังจากได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียงข้างมาก 293 คะแนน


จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรค


พลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลที่ลงคะแนนเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี



อัยการคาดศาลอาจอ่านคำพิพากษาคดีที่ดินรัชดาฯ ลับหลังจำเลย

กรุงเทพฯ 16 ก.ย. - อัยการคาดเป็นไปได้ที่ศาลฎีกาฯ จะไม่เลื่อนพิพากษาคดีทุจริตที่ดินรัชดาฯ วันพรุ่งนี้ ระบุข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาชัด “พ.ต.ท.ทักษิณ-คุณหญิงพจมาน” หนีไม่มาศาล-ไม่รายงานตัวหลังกลับต่างประเทศ ขณะที่ทนายไม่ยอมให้สัมภาษณ์
นายนันทศักดิ์ พูลสุข อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูง เขต 8 1 ในคณะทำงานรับผิดชอบคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก กล่าวถึง กรณีที่ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดฟังคำพิพากษาคดีดังกล่าว วันพรุ่งนี้ ( 17 ก.ย.) เวลา 10.00 น. ว่า หากวันพรุ่งนี้ จำเลยทั้ง 2 คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา ไม่มาฟังคำพิพากษา ก็มีความเป็นไปได้ที่ศาลจะอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย แม้ตามกฎหมายจะต้องอ่านคำพิพากษาต่อหน้าจำเลย แต่เมื่อคดีนี้ศาลอนุญาตให้สืบพยานลับหลังจำเลย และในรายงานกระบวนพิจารณาคดีศาลเคยระบุว่า แม้จำเลยทั้ง 2 อยู่ต่างประเทศ แต่ก็ถือว่าตัวจำเลยยังอยู่ในอำนาจศาล ดังนั้น อาจไม่ต้องออกหมายจับจำเลย และเลื่อนฟังคำพิพากษาออกไปอีก 30วัน
“ส่วนจะเลื่อนหรือไม่เลื่อนฟังคำพิพากษา ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล ซึ่งวันพรุ่งนี้ อัยการก็ไม่จำเป็นต้องแถลงต่อศาลยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้ง 2 หลบหนีไปอีก เพราะข้อเท็จจริงมีปรากฏในกระบวนพิจารณาของศาลแล้ว และหากศาลอ่านคำพิพากษาทันที โดยถ้าตัดสินว่าจำเลยมีความผิดลงโทษตามฟ้อง ก็จะออกหมายจับจำเลยมารับโทษต่อไป แต่ถ้าศาลพิพากษาว่าจำเลยไม่มีความผิด แล้วยกฟ้องกระบวนการทางคดีก็ยุติ” นายนันทศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้ นายนันทศักดิ์ กล่าวด้วยว่า คดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ กับคดีนายวัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย มีความแตกต่างกัน เพราะนายวัฒนา เดินทางมาศาลเกือบทุกนัด ระหว่างการพิจารณา และขณะที่ศาลมีคำสั่งนัดฟังคำพิพากษา นายวัฒนา ก็ยังไม่ได้หลบหนี กระทั่งวันพิพากษา นายวัฒนา ไม่ได้มาศาล จึงถูกออกหมายจับ และเมื่อยังไม่ได้ตัวมาภายใน 30 วัน หลังจากออกหมายจับ ศาลจึงอ่านคำพิพากษาลับหลัง แต่ในส่วน พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน กลับปรากฏว่า ทั้ง 2 หลบหนีไปตั้งแต่ชั้นพิจารณา โดยไม่มารายงานตัวตามที่ศาลสั่งไว้หลังจากเดินทางไปต่างประเทศ จนถูกออกหมายจับ ซึ่งศาลไม่ได้สั่งจำหน่ายคดี เพื่อพักการพิจารณาคดี แต่ได้กำหนดนัดฟังคำพิพากษา
ด้าน นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ว่า พรุ่งนี้จะเดินทางมาร่วมฟังคำพิพากษาหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีนี้ อัยการสูงสุดยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน เป็นจำเลยที่ 1 - 2 ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร่วมกันเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย ในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ปฎิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี และเป็นเจ้าพนักงาน และผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542 ม.4 ,100 และ 122 ประมวลกฎหมายอาญา ม.33, 83, 86, 91, 152 และ 157. - สำนักข่าวไทย จาก http://news.mcot.net/politic/

15 กันยายน 2551

ไม่ต้าน"เขยแม้ว" "ก๊กเนวิน"พร้อมรับมติ"พปช."

"3 ส."เดินสายแจ้ง 5 พรรค"สมัคร"วางมือแล้ว ขอเสียงผนึกตั้ง รบ.ใหม่ ทุกสำนักไม่ขัดเสนอใครรับได้ทั้งนั้น "สมชาย"เขินเก้าอี้นายกฯ ขอบคุณ"เสนาะ"ให้เครดิต ปัด 2 ขั้วงัดข้อแย่งเก้าอี้ ก๊กใหญ่อีสานรับได้หากพรรคมีมติดันน้องเขยทักษิณ "เนวิน"ปลง บอกอยากเสนอใครก็ทำไป ยังฝันได้เก้าอี้ รมต.แบ่ง ส.ส.กลุ่มเพิ่มอีก 2 ตำแหน่ง "ชวน"ข้องใจ รอถาม"สุเทพ"เหตุเชียร์"ส.สมชาย"

@ "3ส."แจ้ง5พรรค"สมัคร"วางมือ

แกนนำพรรคพลังประชาชน (พปช.) 3 คน ประกอบด้วย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ในฐานะรองหัวหน้าพรรค และ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรค เดินทางไปพบกับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรค ตลอดวันที่ 14 กันยายน โดยเวลา 12.00 น. พบแกนนำพรรคเพื่อแผ่นดิน เวลา 13.00 น. พบนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ที่บ้านพักเมืองทองธานี เวลา 14.30 น. พบแกนนำพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และเวลา 17.00 น. พบแกนนำพรรคมัชฌิมาธิปไตยที่บ้านพักย่านสนามบินน้ำของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำพรรคมัชฌิมา ธิปไตย ก่อนที่เข้าพบนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ที่บ้านพักย่านจรัญ สนิทวงศ์ ในเวลา 21.00 น. ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษก พปช. แถลง ณ ที่ทำการพรรค อาคารไอเอฟซีทีว่า แกนนำพรรคทั้ง 3 คน จะไปแจ้งพรรคร่วมรัฐบาลว่า ขณะนี้นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรค อดีตนายกรัฐมนตรี ประกาศวางมือทางการเมืองเป็นที่ชัดเจนแล้ว ซึ่งในวันที่ 15 กันยายน พปช.จะประชุมเพื่อวางตัวบุคคลเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และจะแจ้งให้พรรคร่วมรัฐบาลทราบอย่างเป็นทางการก่อนที่จะลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 17 กันยายน ทั้งนี้ยืนยันว่า ที่ได้แถลงไปในฐานะโฆษกพรรค ว่าพรรคพลังมีมติเสนอชื่อนายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นมติของพรรคจริง แต่เมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา เกิดสถานการณ์ที่ทำให้หัวหน้าพรรคมองเห็นถึงความชัดเจนในเรื่องต่างๆ จึงขอวางมือทางการเมืองเพื่อเสียสละให้การเมืองเดินหน้าต่อไปได้

@ อ้อมแอ้มหันดัน"เลี้ยบ"นั่งนายกฯ

"ต่อไปนี้จะเป็นภาระของพรรคในการสรรหานายกฯ คนใหม่ โดยจะคำนึงถึงเสียงของประชาชนให้มากที่สุด และพรรคจะเดินหน้าสร้างความสมานฉันท์ในสังคม เพื่อทำให้การเมืองมีบรรยากาศที่ดีขึ้น ซึ่งยืนยันว่าในวันที่ 17 กันยายน จะได้นายกฯที่มาจากพรรคพลังประชาชนอย่างแน่นอน และครั้งนี้จะแสดงความเป็นเอกภาพภายในพรรค" ร.ท.กุเทพกล่าว
ส่วนกระแสข่าว ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน พยายามผลักดัน นพ.สุรพงษ์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกฯ หลังจากล้มเหลวในการผลักดันนายสมัครมาแล้วนั้น ร.ท.กุเทพที่เป็นสมาชิกกลุ่มเพื่อนเนวินด้วยกล่าวว่า วันนี้พรรคมีการพูดคุยกันในวงกว้างตามระบอบประชาธิปไตย แต่ในข้อสรุปเรื่องนี้ถือเป็นอำนาจของผู้ที่มีบทบาทระดับสูงของพรรคจะคุยกัน แม้วันนี้จะยังไม่มีความชัดเจน แต่ในการประชุม ส.ส.พรรควันที่ 15 กันยายน จะมีความชัดเจนและมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแน่นอน

@ "พผ."แล้วแต่"พปช."ชื่อนายกฯใหม่

สำหรับการเดินสายพบปะกับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 5 พรรคนั้น เวลา 12.00 น. นายสมชาย นายสมพงษ์ และ นพ.สุรพงษ์เข้าพบหารือนายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคเพื่อ แผ่นดิน นางระนองรักษ์ สุวรรณฉวี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายพิเชษฐ์ ตันเจริญ รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ตัว แทนกลุ่มบ้านริมน้ำ นายไชยยศ จิรเมธากร ส.ส.อุดรธานี ตัวแทนกลุ่มพญานาค ที่พรรคเพื่อแผ่นดิน ถนนสุขุมวิท
หลังจากใช้เวลาหารือประมาณ 40 นาที ทั้งหมดแถลงร่วมกัน โดยยืนยันจะร่วมกันจัด ตั้งรัฐบาลอีกครั้ง เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และหามาตรการยุติปัญหาความแตกแยกในสังคมนำบ้านเมืองกลับไปสู่ความ สุขสงบ
นายสุวิทย์กล่าวว่า เรื่องตัวนายกรัฐมนตรี อยู่ที่การตัดสินใจของ พปช.เพราะเป็นเรื่องในองค์กร พรรคเพื่อแผ่นดินจะก้าวก่ายไม่ได้ จึงต้องให้เกียรติ พปช.เพราะผ่านมาย่อมรู้ดีว่าปัญหาอยู่ที่ตรงไหน

@ "สมชาย"ขอบคุณ"เสนาะ"เชียร์

ด้านนายสมชายที่เสียงส่วนใหญ่ใน พปช. ให้การสนับสนุน และเป็นเต็ง 1 ที่ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกฯให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องตัวบุคคลที่จะเสนอเป็นนายกฯยังไมได้ประชุมลงมติกันเลย อย่าไปฟังข่าว การที่ไปพบแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรค เนื่องจากต้องการให้เกียรติพรรคร่วมทุกท่าน ซึ่งการเดินสายเข้าพบในวันนี้ไม่ได้แตกต่างจากคราวที่แล้วแต่อย่างใด ขณะที่ นพ.สุรพงษ์ปฏิเสธจะให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวว่ากลุ่มเพื่อนเนวินให้การสนับสนุน โดยระบุสั้นๆ ด้วยสีหน้าเบิกบานว่า "ต้องรีบไปพบป๋าเหนาะ"
เวลา 13.10 น. คณะผู้บริหาร พปช.เดินทางไปยังบ้านพักนายเสนาะที่ย่านเมืองทองธานี โดยใช้เวลาหารือ 20 นาที ก่อนที่นายสมชายจะ ออกมายืนยันว่า นายเสนาะรับปากว่าจะร่วมจัดตั้งรัฐบาลเช่นเดิม แต่ยังไม่มีการพูดคุยถึงตัวนายกฯ เป็นเพียงการพูดคุยในหลักการ ส่วนที่นายเสนาะออกมาชื่นชมว่าแม้จะเป็นน้องเขยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แต่วางตัวได้อย่างเหมาะสมนั้น นายสมชายกล่าวเพียงสั้นๆ ว่า "ต้องขอบคุณที่นายเสนาะให้เครดิต แต่ตอนนี้ยังไม่ถึงขั้นนั้น"
จากนั้นแกนนำของพรรคพลังประชาชนทั้ง 3 คน ได้ร่วมรับประทานอาหารที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง ในหมู่บ้านเมืองทองธานี ก่อนที่จะเดินทางไปยังพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคชาติไทย ในที่สุด

@ ปฏิเสธ2ขั้ว"พปช."งัดแย่งนายกฯ

กระทั่งเวลา 14.40 น.แกนนำ พปช.ทั้ง 3 เข้าหารือกับ พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร หัวหน้าพรรครวมใจไทยพัฒนา (รช.) ณ ที่ทำการพรรค โดยนอกจาก พล.อ.เชษฐาแล้ว ยังมี ร.ต. ประพาส ลิมปะพันธุ์ รองหัวหน้าพรรค รช.อยู่ด้วย ภายหลังหารือกว่า 30 นาที ทั้งหมดแถลงข่าวร่วมกัน โดยนายสมชายแถลงว่า ได้รับการตอบรับอย่างอบอุ่น พรรค รช.ตกลงว่าจะร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับ พปช.อีกครั้ง ขณะที่ พล.อ.เชษฐายืนยันร่วมจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้ง โดยให้ พปช. พิจารณาเลือกตัวนายกฯเอง ไม่ว่าจะเป็นใครพร้อมสนับสนุน
"ที่มีข่าวว่าผมจะเป็นนายกฯนั้น ไม่รู้สึกอะไร แต่รู้สึกว่าเราต้องดำเนินการไปตามหลักการของพรรค แต่ไม่ใช่เพียงผมเท่านั้น คนอื่นในพรรคที่มีความรู้ความสามารถก็ยังมี ส่วนกระแสข่าวในพรรคแตกออกเป็น 2 ขั้ว ขั้วหนึ่งสนับสนุน ผม อีกขั้วสนับสนุน นพ.สุรพงษ์นั้นไม่เป็นความจริง พรรคไม่มีขั้วอะไรทั้งนั้น มีแต่มติ ส.ส. ยืนยันว่าเรายังมีความสามัคคี ไม่มีปัญหาและความขัดแย้งต่อกัน" นายสมชายกล่าว

@ บอกดูหมอมาแล้วรบ.อยู่ถึงปีหน้า

ต่อมานายบรรหารแถลงหลังการหารือว่า พรรคชาติไทยมีจุดยืนตามที่พูดไปแล้ว และจะรักษาคำพูด จะร่วมตั้งรัฐบาลกับ พปช. ขอให้ พปช.สบายใจ ส่วนจะเลือกใครมาเป็นนายกฯนั้น พรรคชาติไทยพร้อมให้การสนับสนุน แต่ขอให้แจ้งให้ทราบก่อน เพื่อจะได้ไปบอกให้ลูกพรรคได้ทราบ มั่นใจว่ากาประชุมสภาเพื่อลงมติเลือกนายกฯในวันที่ 14 กันยายน จะราบรื่น ไม่มีปัญหา ทั้งนี้ ได้มีการหารือถึงแนวทางในการดำเนินการหลังจากตั้งรัฐบาลเสร็จสิ้นแล้วว่าจะเดินหน้าสร้างความสามัคคีในชาติได้อย่างไรบ้าง เพื่อความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง พลิกฟื้นเศรษฐกิจ ส่วนคุณสมบัติคนที่จะมาเป็นนายกฯนั้น โดยส่วนตัวเห็นว่ามีความเหมาะสมทั้ง 3 ส. เพราะเป็นคนอ่อนโยน สามารถสร้างความปรองดองกับทุกฝ่ายได้ ทั้งนี้ สำหรับกระแสข่าวความขัดแย้งในการคัดเลือกบุคคลมาเป็นนายกฯนั้น เป็นเรื่องธรรมดาของพรรคการเมือง ที่อาจมีความเห็นที่แตกต่างกัน แต่ขอให้อย่าให้เกิดความกระเส็นกระสายเป็นเรื่องใหญ่มากเกินไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า กลุ่มพันธมิตรประกาศไม่ยอมรับว่าที่นายกฯ ทั้ง 3 ส. นายบรรหาร กล่าวว่า "โอ๊ย พันธมิตรไม่เอาใครทั้งหมดนั่นหละ ในโลกนี้จะเอาใครยังนึกไม่ออก ผมคิดว่าคงไม่นำท่าทีของพันธมิตรฯมาคิด เพราะใครมาก็ถูกว่าทั้งนั้น เชื่อว่าสถานการณ์หลังจากนี้คงจะดี เพราะผมไปดูหมอดูมาแล้ว รัฐบาลจากนี้ไปอาจจะอยู่ยืดจนถึงปีหน้าก็ได้"

@ เช็คเสียงดัน"สมชาย"นั่งแน่นปึ้ก

เมื่อเวลา 17.10 น. นายสมชาย นพ. สุรพงษ์ และนายสมพงษ์เดินทางไปยังบ้านพักของนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย เพื่อหารือถึงการเชิญพรรคมัชฌิมาธิปไตยเข้าร่วมเป็นพรรคร่วมรัฐบาล โดยมีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เข้าร่วมหารือด้วยโดยใช้เวลาหารือประมาณ 40 นาที
จากนั้นนายสมชายให้สัมภาษณ์ว่า มาเชิญพรรคมัชฌิมาฯ เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งทางพรรคมัชฌิมาฯ ก็ได้รับตอบรับที่จะเข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาลแล้ว
นพ.สุรพงษ์ กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มของนาย เนวินพยายามผลักดันให้ดำรงตำแหน่งนายกฯ ว่าเรื่องดังกล่าวเป็นไปตามการประชุมของพรรค ไม่ได้มีกลุ่มหรือแบ่งฝ่าย การตัดสินใจว่าใครจะได้เป็นนายกฯ ขึ้นอยู่กับมติของพรรค ไม่มีใครหรือกลุ่มใดมีบทบาทในการตัดสินใจทั้งสิ้น
รายงานข่าวจากพรรค พปช.แจ้งว่า ตลอดทั้งวันของวันที่ 14 กันยายน บรรดาแกนนำของพรรค ส.ส.ภาคเหนือบางส่วน และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เริ่มทยอยเดินทางเข้าที่พรรคตั้งแต่เวลา 11.00 น. อาทิ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ หัวหน้ากลุ่มวังบัวบาน น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล อดีตกรรมการ บริหารพรรคไทยรักไทย นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตรองหัวหน้าพรรค ได้มีการประชุมร่วมกัน ส่วนวง ส.ส.มีประมาณ 10 คน อาทิ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่ พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา นายศรีเมือง เจริญศิริ นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.สัดส่วน ซึ่งทั้งสองวงได้มีการหารือถึงสถานการณ์หลังจากที่กลุ่มเพื่อนเนวินพยายามผลักดันนพ.สุรพงษ์ และได้หารือถึง 3 ส.ใครเหมาะสมที่จะขึ้นเป็นนายกฯ โดยที่ประชุมแกนนำได้โทรศัพท์สอบถามความเห็น ส.ส.ว่าจะเอาใครเสียง ส.ส.ส่วนใหญ่สนับสนุนนายสมชาย เพราะเป็นบุคคลที่สามารถประสานได้กับทุกฝ่ายมีภาพรอมชอม จะทำให้ไม่มีใครแพ้ แต่ทุกฝ่ายจะชนะเหมือนกันหมด

@ "เติ้ง"ได้จังหวะทวงงบ30ล.ทันที

แกนนำ 3 ส.พรรค พปช. ยังเข้าพบนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ที่บ้านถนนจรัญสนิทวงศ์ เมื่อเวลา 21.00 น. เพื่อหารือร่วมกับ นายบรรหาร พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทย นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองหัวหน้าพรรคชาติไทย และ นายวราวุธ ศิลปอาชา บุตรชายนายบรรหาร ทั้งนี้นายบรรหารได้ให้นายวราวุธ เป็นผู้ต้อนรับทั้ง 3 ส. และนำเข้าห้องหารือ นายบรรหารกล่าวแซว 3 ส. ว่า "เดี๋ยวนี้ 3 ส.ดังมาก 3 ส. แปลว่า 3 ทหารเสือ และเห็นด้วยที่ 3 ส. เดินสายพบปะพรรคการเมืองต่างๆ เพราะการเดินสายเป็นเรื่องที่ดี แต่ตอนนี้ผมไม่ค่อยใกล้ชิดรัฐบาลเลย เข้าไปใกล้ชิดลำบากเหมือนกัน เพราะรัฐบาลติดต่อไม่ค่อยติด" ซึ่งปรากฏว่า เมื่อนายบรรหารพูดจบ ทำให้ทุกคนหัวเราะชอบใจ พร้อมกันนี้นายบรรหารยังฝากฝังกับนายสมชายให้ช่วยดูแลโครงการจัดงานพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่นายสมศักดิ์ดูแลอยู่ด้วย โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณในการปรับปรุงภูมิทัศน์ต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยจากงบกลางราว 30 ล้านบาท และจะเดินทางไปตรวจสอบความคืบหน้าด้วยตัวเองในวันที่ 15 กันยายน โดยนายสมชายได้รับคำว่าพร้อมดูแลให้และขอบคุณแทนชาวเชียงใหม่ ที่นายบรรหารมาดูแลเรื่องนี้ให้ อย่างไรก็ตาม นายสมชายได้กล่าวกับนายบรรหารว่า เรื่องการเลือกนายกฯนั้น พปช.ให้เป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ส. พรรค ที่จะพิจารณาตัดสินใจร่วมกัน โดยจะยึดหลักเสียงข้างมาก
นายสมพงษ์กล่าวกับผู้สื่อข่าวก่อนหารือว่า "พรรคจะไม่ส่งรายชื่อผมเป็นนายกฯคนใหม่ โดยจะส่งคนอื่น และผมก็ไม่อยากมารับตำแหน่งนายกฯ อยากทำงานในส่วนที่ตัวเองรับผิดชอบดีกว่า"

@ กลุ่มเหนือย้ำ"สมชาย"เหมาะ

นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส. เชียงใหม่ พปช. กล่าวถึงการสรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีว่า ล่าสุดชื่อของผู้ที่จะรับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป คือ นายสมชาย เนื่องจากบุคคลนิ่มนวล เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน แม้พรรคประชาธิปัตย์เองก็ยังให้การยอมรับ ซึ่งสังเกตได้จากการที่นายสมชายได้รับการแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี
พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นคร ราชสีมา พปช. กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่เรียบร้อย เนื่องจากมี ส.ส.กลุ่มหนึ่งพยายามดันนอมินีตัวเองเข้าชิงตำแหน่ง เช่น กลุ่มเพื่อนเนวินที่สนับสนุน นพ.สุรพงษ์ ซึ่งเห็นว่าหากคิดแต่เรื่องตำแหน่งบ้านเมืองก็จะเดินหน้าต่อไม่ได้ สุดท้ายรัฐบาลแห่งชาติก็จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อนั้นมาถึงบุคคลที่จะมาเป็นนายกฯก็ต้องไม่ใช่คนของ พปช. หรือพรรคประชาธิปัตย์ แต่เป็นคนที่เคยทำหน้าที่ปฏิรูปทางการเมืองเมื่อ ปี 2540
นายประชา ประสพดี ส.ส.สมุทรปราการ พปช. กล่าวว่า หากพรรคไม่สามารถตกลงกัน ได้ว่าจะส่งคนใดในรัฐมนตรี 3 ส.เป็นนายกรัฐมนตรีก่อนที่จะถึงวันที่ 17 กันยายน นายสมชายในฐานะรักษาการนายกรัฐมนตรี ก็ควรที่จะคืนอำนาจให้ประชาชนโดยการประกาศยุบสภา เพราะคงไม่มีใครยอมให้มีรัฐบาลแห่งชาติแน่นอน

@ "สมพงษ์"สำรองกันอุบัติเหตุสภา

พ.ต.ท.กานต์ เทียนแก้ว รองหัวหน้าพรรค พปช. คนสนิทนายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตรองหัวหน้าพรรค พปช. กล่าวว่า ขณะนี้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนแล้วว่าพรรคจะเสนอชื่อนายสมชายต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในวันที่ 17 กันยายน และหากเกิดสถานการณ์อะไรที่ทำให้ไม่ลงตัว พรรคจะเสนอชื่อนายสมพงษ์แทน สำหรับ นพ. สุรพงษ์คงเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ได้ เพราะติดคดีหวยบนดินอยู่ ซึ่งคนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีต้องปลอดสารพิษ เคลียร์ตัวเองต่อสังคมได้
"ผมเห็นว่าตัว นพ.สุรพงษ์ควรที่จะคิดเรื่องตัวเองก่อนที่จะคิดเรื่องอื่น เพราะถ้าเป็นนายกฯคดีตัวเองยังไม่เคลียร์มีคนอื่นมาถามจะตอบอย่างไร ดังนั้น คนเป็นนายกฯต้องสะอาด เรียบร้อย" พ.ต.ท.กานต์กล่าว และว่า ขณะนี้นายสมัครยังไม่ได้ยื่นใบลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค มีเพียงอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจ้งให้ทราบว่าไม่ต้องการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากหัวหน้าพรรค การเมือง ดังนั้น ผมในฐานะรองหัวหน้าพรรคคนที่ 1 ต้องทำหน้าที่แทน และเชื่อว่าไม่น่าจะเกิน 3 เดือน พรรคพลังประชาชนจะต้องถูกยุบ โดยสมาชิกทั้งหมดก็จะไปสังกัดพรรคเพื่อไทย ยกเว้นสมาชิกพรรคบางส่วนที่จะไปสังกัดพรรค การเมืองอื่น" พ.ต.ท.กานต์กล่าว

@ ก๊ก"เนวิน"ไม่ขัดหากเลือก"สมชาย"

นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา พปช. กลุ่มเพื่อนเนวิน กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่าแกนนำพรรคตัดสินใจเสนอให้นายสมชายเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ว่า ทางกลุ่มยังไม่ได้หารือกัน เนื่องจากยังไม่ได้รับการประสานจากแกนนำพรรคในเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ทาง กลุ่มจะนัดประชุมกันในวันที่ 15 กันยายน เวลา 10.00 น. ที่ทำการพรรค เพื่อปรึกษาหารือกันถึงชื่อนายกฯคนใหม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากผลสรุปแล้วเป็นชื่อของนายสมชาย ทางกลุ่มรับได้หรือไม่ นายบุญจงกล่าวว่า ถ้าเป็นมติพรรค ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ยอมรับได้ทั้งนั้น แต่จะต้องเป็นมติพรรค ทั้งนี้ยืนยันว่าทางกลุ่มจะไม่มีการเคลื่อนไหวต่อต้านโดยไม่เข้าร่วมประชุมสภาในวันที่ 17 กันยายนนี้ เหมือนเช่นที่พรรคชาติไทยเคยทำเมื่อครั้งเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมาอย่างแน่นอน เพราะเป็นพรรคใหญ่ "โดยส่วนตัวถ้าเป็นชื่อของนายสมชายเราก็ไม่มีปัญหา เรารับได้หมด แต่ขอให้เป็นมติพรรคเท่านั้นเอง เพราะทั้ง "3 ส." ก็มีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งนั้น" นายบุญจงกล่าว
นายเจริญ จรรย์โกมล ส.ส.ชัยภูมิ พปช. แกนนำกลุ่มขุนค้อน กล่าวว่า ในวันที่ 15 กันยายนที่จะถึงนี้ จะมีการประชุม ส.ส.ของพรรคเพื่อลงมติในการเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเชื่อว่าจะมีการเสนอ ชื่อผู้ที่มีความเหมาะสมเพียงคนเดียว ตามที่กรรมการบริหารของพรรคพลังประชาชนเสนอมา ทั้งนี้กลุ่มขุนค้อนพร้อมที่จะยอมรับและปฏิบัติตามมติของพรรค เพื่อให้บ้านเมืองสามารถเดินหน้าต่อไป และสร้างความสามัคคี ความมีเอกภาพให้เกิดขึ้นในพรรค เรื่องที่ผ่านมาแล้วก็ให้เลิกแล้วต่อกัน

@ "เนวิน"ปลง-ฝันได้เก้าอี้รมต.เพิ่ม

รายงานข่าวแจ้งว่า ตลอดทั้งวันนี้ สมาชิกกลุ่มเพื่อนเนวินที่มี ส.ส.กว่า 80 คน ได้ทยอยเดินทางเข้าพบนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำกลุ่มที่บ้านพักนายเนวิน ย่านศรีนครินทร์ เพื่อ ให้กำลังใจนายเนวิน ที่ขณะนี้เกิดความรู้สึกน้อยใจและเสียความรู้สึกอย่างมากกับการที่ถูกพรรคร่วมรัฐบาล และ ส.ส.ในพรรคหักหลังจนไม่สามารถผลักดันนายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งได้เมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ นายเนวินได้บ่นกับคนใกล้ชิดว่า "ไม่อยากเจอใคร และไม่อยากทำอะไรอีกแล้ว หากพรรคจะเสนอชื่อใครเป็นนายกรัฐมนตรีก็ปล่อยให้ทำไป" อย่างไรก็ตาม ทางแกนนำพรรคพลังประชาชนได้พยายามส่งคนไปประสานกับรัฐมนตรีในกลุ่มเพื่อให้ช่วยพูดกับนายเนวินให้สนับสนุนนายสมชายเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งล่าสุดก็ยืนยันว่าไม่มีปัญหา โดยโควต้ารัฐมนตรีในกลุ่มของนายเนวินจะได้เท่าเดิม และอาจได้โควต้ารัฐมนตรีเพิ่มอีก 2 ตำแหน่ง เนื่องจากจะมีเก้าอี้รัฐมนตรีในสัดส่วนคนนอกที่นายสมัครดึงมาว่างลงประมาณ 4-5 ตำแหน่ง

@ อีสานพัฒนาแหย่ก๊กใหญ่แตก

นายศักดา คงเพชร ส.ส.ร้อยเอ็ด พปช. กลุ่มอีสานพัฒนา กล่าวถึงกระแสข่าวระบุ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวินบางส่วน เริ่มตีตัวออกห่างจากนายเนวินว่า ได้ยินมาเช่นกัน ว่าขณะนี้ ส.ส.อีสาน ที่ยังจงรักภักดีกับกลุ่มเพื่อนเนวินมีน้อยมาก เพราะ ส.ส.อีสานส่วนใหญ่ทราบดีว่าได้รับเลือกมาเพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ดังนั้น ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวินส่วนใหญ่ จะย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทยเช่นเดียวกับ ส.ส. พปช.ในกลุ่มอื่นๆ หาก พปช.ถูกยุบ "ขณะนี้ยังมีความพยายามล็อบบี้เสนอให้ ทั้งเงินและตำแหน่งกับคนในกลุ่ม เพื่อให้ร่วมทำงานทางการเมืองกับกลุ่มเขาต่อไป แต่ ส.ส. เหล่านี้แม้แต่ ส.ส.บุรีรัมย์ ก็ทราบดีว่า การออกจากพรรคโดยข้อหาเนรคุณต่อ พ.ต.ท.ทักษิณนั้น ไม่ว่าใครจะไม่มีทางที่จะกลับเข้าสภาได้อีกเลย โดยเฉพาะในภาคอีสาน" นายศักดากล่าวนายศักดากล่าวยืนยันว่า กลุ่มอีสานพัฒนาจะเคารพมติพรรคในการเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรี 3 ส. นั้น ไม่ว่าใคร กลุ่มอีสานพัฒนาสามารถรับได้ทั้งหมด แต่ตัว นพ.สุรพงษ์ยังมีคดีติดตัวอยู่ ซึ่งหากได้รับการโหวตเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เชื่อว่าจะอยู่ได้ไม่กี่วัน

@ "อ๋อย"ปัด111ร่วมเฟ้นนายกฯใหม่

นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย แถลงที่โรงแรมเรดิสัน ว่า กรณีเข้าร่วมหารือกับแกนนำ พปช. พร้อมสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ที่ถูกเพิกถอนสิทธิ เลือกตั้ง เมื่อวันที่ 13 กันายนที่ผ่านมาว่า เป็นการหารือแบบไม่เป็นทางการ และไม่ได้มีความพยายามเสนอนายกฯคนใหม่ แม้จะมีการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย แต่เมื่อมีข่าวแบบนี้หลายคนไม่สบายใจ จึงได้ข้อสรุปว่าจากนี้ไปสมาชิกบ้านเลขที่ 111 จะไม่มีการมาหารือกันที่ พปช. อีกต่อไป ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ พ.ต.ท.กานต์ เทียนแก้ว รองหัวหน้า พปช. เสนอนิรโทษกรรมให้ 9 แกนนำแกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิป ไตยที่ถูกต้องข้อหากบฏ รวมทั้งนิรโทษกรรมสมาชิกบ้านเลขที่ 111 นายจาตุรนต์ ตอบว่า มันเป็นการจับแพะชนแกะแบบไม่มีหลักเกณฑ์และเหตุผล สมาชิกบ้านเลขที่ 111 โดนลงโทษโดยกฎหมายเผด็จการและส่วนใหญ่คือผู้บริสุทธิ์แต่ 9 แกนนำพันธมิตรมีความผิดในการใช้กำลังและอาวุธบุกยึดสถานที่ราชการ มันมีความผิดชัดแจ้ง หากเรื่องนี้ไปขึ้นสู่ศาลแล้วจะไม่มีความ ผิดไม่ได้ ส่วนจะเข้าข่ายข้อหากบฏหรือไม่นั้น ไม่ทราบ รัฐบาลจะเข้าไปแทรกแซงกระบวน การของศาลให้ยกเลิกข้อหานี้ไม่ได้ มันคือหน้าที่ของตำรวจและศาลเท่านั้น เมื่อศาลเห็นชอบแล้ว หากใครไปทะเล่อทะล่า จะถือว่าผิดกฎหมายด้วยซ้ำ ฉะนั้น 2 เรื่องนี้ มันจะนำมาเทียบกันไม่ได้เลย ปัญหาตอนนี้ที่ต้องเร่งแก้ไข คือจะรักษาประชาธิปไตย และแก้ไขวิกฤตการเมืองที่กลุ่มพันธมิตรทำไว้อย่างไร

@ ทำนาย"รบ."อยู่ได้ไม่เกิน2ด.

นายจาตุรนต์ยังปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นนายสมชายมาแรงในเก้าอี้นายกฯ ว่า ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะแสดงความคิดเห็น เป็นเรื่องที่ พปช.ต้องตัดสินโดยรับฟังความเห็นทุกด้าน อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวมองว่ารัฐบาลชุดใหม่จะ อยู่ได้บวกลบประมาณ 2 เดือน จากนั้นต้องเตรียมพร้อมรับมือคดียุบพรรค ต้องคิดว่าหลังการยุบพรรคจะมีรัฐบาลชุดใหม่อย่างไร เหตุที่คิดแบบนี้เพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้อย่างนั้น "มันเป็นส่วนหนึ่งของบันได 4 ขั้น ฉะนั้นต้องมีแถวที่ 3 ขึ้นมารอเป็นนายกฯคนที่ 3 ซึ่งต้องไม่เป็นกรรมการบริหารพรรคจากพลังประชาชนชาติไทย มัชฌิมาธิปไตย เพราะการเมืองมันเป็นแบบนี้ไปแล้ว ต้องลงมือทำ ตอนนี้ เพราะหากรอหลังยุบพรรคจะเกิดอาการแพแตก วันนี้ต้องแก้วิกฤตประเทศขณะเดียวกันก็ต้องคิดล่วงหน้าไว้ด้วย ส่วนภารกิจของนายกฯคนใหม่นับจากนี้คือ ต้องพูดให้ชัดว่าจะแก้รัฐธรรมนูญเมื่อใด ไม่จำเป็นต้องรอไป 6 เดือน เพราะโดนยุบพรรคแน่ โดยเฉพาะพรรคพลังประชาชนโดนยุบพรรคล้านเปอร์เซ็นต์" นายจาตุรนต์กล่าว

@ "ชวน"ข้องใจ"สุเทพ"เชียร์สมชาย

นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ที่ จ.ตรัง กรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค ประชาธิปัตย์ เห็นว่าในบรรดา 3 ส. นายสมชายเหมาะสมดำรงตำแหน่งนายกฯมากที่สุดว่า การให้ความเห็นของนายสุเทพไม่ใช่สาระสำคัญ แต่เห็นว่าระบอบทักษิณ ไม่ใช่เฉพาะตัว พ.ต.ท. ทักษิณอย่างเดียว หากรวมทั้งขบวนการแทรก แซงองค์กรอิสระก็ถือว่าเป็นขบวนการระบอบทักษิณผู้สื่อข่าวถามว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ รับแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม ในสมัยนายชวน เป็นนายกรัฐมนตรี นายชวนกล่าวว่า นี่เป็นข้อแตกต่างระหว่างสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล กับพรรคไทยรักไทย เพราะพรรคประชาธิปัตย์ให้ความเป็นธรรมกับข้าราชการ ไม่ถือว่าบุคคลนั้นจะเป็นญาติเป็นน้องเขยของใคร จะไม่เข้าไปกีดกันข้าราชการ ผู้สื่อข่าวถาม คิดว่านายสมชายเหมาะสมจะเป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ นายชวนกล่าวว่า นายสมชายเป็นคนจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นคนพูดสำเนียงใต้เหมือนกัน สามารถพูดจากันอย่างเป็นกันเอง อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 15 กันยายน จะไปสอบถามนายสุเทพเหมือนว่าที่ออกมาสนับสนุนนายสมชายเป็นนายกรัฐมนตรีเพราะอะไร มีเหตุผลใดที่เห็นว่านายสมชายเป็นนายกรัฐมนตรีได้ คงไม่ใช่เพราะเป็นคนใต้ หรือเป็นคนบ้านใกล้เรือนเคียงกับนายสุเทพ

@ เด็กสุเทพเฉไฉเหมาะสุดบรรดาแคระ

นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ คนใกล้ชิดนายสุเทพกล่าวว่า เจตนาของเลขาธิการพรรคต้องการชี้ให้เห็นว่าในบรรดาคนแคระหรือคนขี้เหร่ทั้งหมด นายสมชายดูดีกว่าคนอื่น ไม่ได้มีเจตนาว่าพรรคประชาธิปัตย์ไปสนับสนุนนายสมชายแต่อย่างไรนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการจัดตั้งรัฐบาลว่า เป็นความพยายามของเสือหิว 2 กลุ่มที่แย่งชิงเศษอาหารกัน ประกอบด้วยแก๊งออฟโฟร์ กับแก๊งรวมดาวกระจุยที่มีสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ส.ส. พปช.บางส่วน และแก๊งต่อต้านแก๊งออฟโฟร์ ที่กำลังแย่งเศษอาหารกันผลักดันเอาคนของ ตัวเองเข้ามาเป็นรัฐมนตรี โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องชอบธรรม เพื่อให้กลุ่มของตัวเองเข้ามาเสวยสุขโดยไม่สนใจประชาชน ความพยายามตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่เป็นเพียงการแต่งหน้าเค้กใหม่ แต่ไส้ในยังเหมือนเดิม "สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า พรรคพลังประชาชนไม่ได้ตระหนักเลยว่า 7 เดือนที่ผ่านมาได้สร้างความบอบช้ำให้กับประเทศชาติหลายประการ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และความพยายามแก้รัฐธรรมนูญช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และหนีคดียุบพรรค ดังนั้นการจะเลือกนายกฯใหม่จึงไม่ใช่การแก้ปัญหา และไม่เกิดประโยชน์เพราะโครงสร้างรัฐบาลยังเหมือนเดิม ทั้งนี้ วิเคราะห์ว่าที่พรรคร่วมรัฐบาลยังจับมือกันเป็นเพราะหวงอำนาจแต่ไม่ห่วงบ้านเมือง หวังใช้อำนาจดำเนินการในสองเรื่อง คือ สะสมเสบียงกรังในการเลือกตั้งสร้างขุมกำลังเพิ่มจำนวน ส.ส. และใช้อำนาจรัฐโยกย้ายข้าราชการเพื่อใช้ข้าราชการทำผิดให้เป็นถูก และปฏิบัติการลูบหน้าปะจมูกช่วยคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณต่อไป" นายองอาจกล่าว นพ.บุรณัชย์ สมุทรรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ไม่ว่า พปช.จะเสนอใครก็ตามมาเป็นนายกฯ การแสดงให้เห็นเนื้อแท้ที่ว่าไม่ว่าจะเป็นอย่างไรบุคคลที่จะเสนอก็จะไม่พ้นคน พปช. ขณะที่ภาพที่ออกมายังคงแสดงให้เห็นว่า ส.ส. พปช.ยังไม่มีความพร้อม เมื่อพรรคเสียงข้างมากยังไม่สามารถที่จะทำให้ประชาชนเชื่อใจได้ว่าสถานการณ์จะดีขึ้นอย่างไร จะต้องยืนยันในสัญญาประชาคมกับประชาชน 3 ข้อคือ 1.จะต้องไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อหนีคดียุบพรรค 2.ต้องไม่แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม 3.ต้องออกมาบอกว่า มีจุดยืนในการปลดชนวนวิกฤตอย่างไร ด้วยกลไกอย่างไร

@ "ไพบูลย์"จี้เร่ง3ภารกิจเฉพาะหน้า

นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การที่หลายฝ่ายเห็นว่านายสมชายเหมาะสมเป็นเรื่องที่ดี เพราะนายสมชายเป็นคนที่รับฟังคนอื่น เพราะเคยเป็นข้าราชการประจำ แม้แต่นายสุเทพ และนายเสนาะต่างก็เห็นด้วย ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ หากจะมีการหารือกันในการจัดตั้งรัฐบาลพิเศษเฉพาะกาล โดยอาจมีพรรคการเมืองใหญ่ 2-3 พรรคเข้าร่วม ทั้งนี้การจัดตั้งรัฐบาลพิเศษ ควรมีบุคคลภายนอกที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาร่วมในคณะรัฐมนตรี (ครม.) อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง เพื่อที่จะได้ คลายความเป็นการเมือง เพราะประชาธิปไตยที่ดีคือการปกครองโดยประชาชน ดังนั้น จึงควรเกิดการผสมผสานกัน แต่อย่าพึ่งตัดสินใจ ต้องค่อยๆ ตั้งโจทย์และหารือจนเห็นพ้องกัน ซึ่งจะเป็นการสมานฉันท์ ทั้งนี้ รัฐบาลพิเศษควรมี เวลาทำงาน 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง "แต่นั่นก็ไม่สำคัญเท่ากับภารกิจที่ต้องทำอย่างน้อย 3 ประการคือ 1.ยุติความขัดแย้ง โดยการสร้างความสมานฉันท์ซึ่งในส่วนของกลุ่มพันธมิตรเองก็น่าจะเจรจากันได้ 2.ปฏิรูปการ เมือง โดยควรระดมความเห็นเพื่อให้ทุกฝ่าย ช่วยกันคิดในสิ่งที่เรียกว่าการเมืองใหม่ 3.เรื่องอื่นๆ เช่น การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า" นาย ไพบูลย์กล่าว

credit : มติชนรายวัน

"ไทย"อันดับ9จาก12ประเทศ น่าเชื่อถือกระบวนยุติธรรม

"เพิร์ค"จัดอันดับความน่าเชื่อถือกระบวนการยุติธรรมในเอเชีย ไทยติดอันดับ 9 ดีกว่าจีน เวียดนาม อินโดฯ ส่วนฮ่องกงน่าเชื่อถือมากสุด รองลงมาสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ระบุนักธุรกิจต่างชาติในไทยจับตา"ตุลาการภิวัตน์"จะเป็นผลดีกับประเทศจริงหรือไม่สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเมื่อวันที่ 14 กันยายน ว่า เพิร์คบริษัทที่ปรึกษาความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจทำการสำรวจถึงความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมของ 12 ประเทศ และเขตเศรษฐกิจพิเศษในเอเชีย ปรากฏว่าไทยรั้งอันดับที่ 9 โดยฮ่องกงครองอันดับความน่าเชื่อถือมากที่สุด ขณะที่กระบวนการยุติธรรมของอินโดนีเซียถูกระบุว่าเลวร้ายที่สุด ทั้งนี้ การสำรวจดังกล่าวเปิดให้ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทที่ประกอบธุรกิจในเอเชีย 1,537 บริษัทให้คะแนนกับกระบวนการยุติธรรมในประเทศที่อาศัยอยู่ โดยคำนึงถึงตัวแปรต่างๆ อาทิ ธรรมาภิบาล กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย ความเป็นอิสระและปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง ตลอดจนประสบการณ์และมาตราฐานการศึกษาของทนายความและผู้พิพากษาก็ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่หยิบยกมาประกอบการพิจารณาเพื่อให้คะแนนกับประเทศและเขตเศรษฐกิจพิเศษที่กระบวนการยุติธรรมมีความน่าเชื่อถือมากที่สุดคือ 0 จนถึงเลวร้ายที่สุดคือ 10 คะแนน เพิร์คอธิบายว่า การสำรวจทัศนคติและความคิดเห็นของนักลงทุนที่ทำขึ้นเป็นประจำทุกปีแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการให้คะแนนของนักธุรกิจต่างชาติเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมกับการเปิดกว้างของระบบเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ เพราะกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพย่อมหมายถึงการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ดีขึ้น การทุจริตคอร์รัปชั่นที่น้อยลง และระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง อย่างไรก็ดี เนื่องจากการสำรวจดังกล่าวเน้นไปที่ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทต่างๆ ไม่ใช่นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ดังนั้น บรรทัดฐานที่สำคัญสำหรับการประกอบธุรกิจ อาทิ สัญญาและข้อตกลงต่างๆ และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาจึงมีน้ำหนักมากในส่วนของกระบวนการยุติธรรมไทยที่อยู่ในอันดับ 9 ได้คะแนน 7 คะแนน ดีกว่าจีนที่ 7.25 เวียดนาม 8.10 และอินโดนีเซียที่ 8.26 ส่วนประเทศและเขตเศรษฐกิจพิเศษที่กระบวนการยุติธรรมมีความน่าเชื่อถือสูงสุดคือฮ่องกง 1.45 ตามด้วยสิงคโปร์ 1.92 ญี่ปุ่น 3.50 เกาหลีใต้ 4.62 ไต้หวัน 4.93 ฟิลิปปินส์ 6.10 มาเลเซีย 6.47 และอินเดีย 6.50 "ชาวต่างชาติที่ประกอบธุรกิจในไทยมีความสงสัยและคลางแคลงใจอย่างมาก ว่าแนวโน้มของการแพร่ขยายอำนาจของศาลยุติธรรมหรือตุลาการภิวัตน์จะเป็นผลดีกับประเทศจริงหรือไม่" เพิร์คระบุ สำหรับอินโดนีเซีย ซึ่งกระบวนการยุติธรรมเลวร้ายที่สุดนั้น เพิร์คชี้ว่า กระบวนการยุติธรรมของอินโดนีเซียก่อให้เกิดการโต้แย้งสูงจนส่งผลกระทบอย่างหนักต่อความเชื่อมั่นของบริษัทต่างชาติ ขณะที่จีนและเวียดนามซึ่งรั้งอันดับท้ายเช่นกันเป็นเพราะกระบวนการยุติธรรมมีความเกี่ยวพันกับการแทรกแซงทางการเมืองอย่างมาก และพรรคคอมมิวนิสต์ของทั้งสองประเทศต่างก็อยู่เหนือกฎหมาย ส่วนอินเดียและฟิลิปปินส์แม้จะเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ยังคงมีการทุจริตคอร์รัปชั่นสูง ด้านมาเลเซียกระบวนการยุติธรรมได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแทรกแซงทางการเมืองเช่นกัน

credit : มติชนรายวัน

Somchai gets the nod

The ruling People Power party (PPP) picked acting premier Somchai Wongsawat as its official candidate as prime minister as expected on Monday - but not unanimously.
The executive committee of the PPP agreed to nominate Mr Somchai when parliament meets on Wednesday. Various committees still have to meet, but the five coalition partner-parties also said they were on board with Mr Somchai.
The People's Alliance for Democracy (PAD), of course, rejected the nomination and vowed to continue their protest. Anyone from PPP or other coalition parties is unacceptable, the anti-governmnent group said.
But more serious opposition came from inside PPP.
"Friends of Newin" Chidchob, the banned but still powerful Thai Rak Thai party executive, threatened to break the party's ranks and vote for caretaker deputy prime minister and finance minister Surapong Suebwonglee on Wednesday, instead of Mr Somchai.
The Friends of Newin held their own press conference on Monday, calling for the party to reconsider its resolution to nominate deputy leader and acting PM Somchai.
The group presented the signatures of 73 MPs who support this stance.
This same group supported the selection of disqualified prime minister Samak Sundaravej back as premier, but now that he has declined the nomination, they've switched to support deputy leader Md Surapong as PM.
Songsak Thongsri, a key figure of Newin’s Friends faction in PPP, stated that Md Surapong is the most suitable person and is capable of running the country.
Caretaker agriculture and cooperatives minister and deputy leader of Chart Thai party Somsak Prissanananthakul stated that his party members will vote in support of the PM candidate proposed by the ruling PPP.
Caretaker natural resources and environment minister and Matchima Thipataya party leader Anongwan Thepsuthin also said her party will support the person nominated by PPP as the next prime minister.

credit : BangkokPost.com

'สุเทพ' ชี้ 'อภิสิทธิ์'เหมาะเป็นนายกฯ

วันนี้ (15 ก.ย.) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ว่า ยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ก่อนถึงวันลงมติเลือกนายกฯ ในวันที่ 17 ก.ย. เพราะในพรรคพลังประชาชนยังมีความขัดแย้งในการสรรหาบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกฯ อย่างไรก็ตามเห็นว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีความเหมาะสมที่จะเป็นนายกฯในสถานการณ์แบบนี้ ทั้งนี้ไม่เคยมีแนวคิดสนับสนุน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกฯ แต่เห็นว่ามีความเมาะสมที่สุดในบรรดาตัวเลือกที่พรรคพลังประชาชนเลือกไว้ เพราะสุภาพ ไม่แข็งกร้าวเหมือนผู้นำที่ผ่านมา.

credit : daily news online
www.dailynews.co.th

วุฒิสภา นัดถกงบปี 52 16 ก.ย.

ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในวันที่ 16 ก.ย.นี้ จะมีการประชุมวุฒิสภานัดพิเศษเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 วงเงิน 1,835,000,000,000 บาท ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว โดยวุฒิสภาต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 20 วัน ตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 168 วรรคสาม บัญญัติ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 วุฒิสภา ได้รายงานตั้งข้อสังเกตในการจัดสรรงบประมาณไว้ 3 ส่วน คือ 1.นโยบายและการบริหารจัดการงบประมาณปี 2552 ว่า จากสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่อาจมีการชะลอตัวการขายตัวทางเศรษฐกิจ และระดับเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลต้องพึงระวัง และควรมีมาตรการเตรียมความพร้อมในกรณีที่ไม่สามารถจัดเก็บรายได้ได้ตามเป้าหมาย 2.ประเด็นสำคัญเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องกำหนดนโยบายเชิงบูรณาการได้แก่ การกำหนดยุทธศาสตร์และกระบวนการในการพัฒนาคนไทยและสังคมไทยโดยมุ่งเน้นที่เด็กและเยาวชนเป็นวาระแห่งชาติ การจัดสรรงบประมาณเพื่อดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การกำหนดนโยบายและทิศทางการวิจัยของประเทศ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ และ 3.การจัดสรรงบประมาณตามภารกิจของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ รายงานข่าวแจ้งว่า เบื้องต้น ส.ว.เลือกตั้งและ ส.ว.สรรหาส่วนหนึ่ง เห็นว่ามีแนวทางดำเนินการ 2 ทางคือ อาจจะเสนอให้ที่ประชุมวุฒิสภาเลื่อนการพิจารณา หรืออาจไม่เห็นชอบในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว แต่ส่วนใหญ่เห็นควรดำเนินการในทางแรกมากกว่า เพราะเห็นว่ารัฐบาลที่จัดทำงบประมาณได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว จึงควรรอรัฐบาลใหม่แถลงนโยบายต่อรัฐสภาก่อน รวมถึงการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภา มีปัญหาในเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ในส่วนการปรับเพิ่ม 4.5 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะ ในส่วนงบ 1.6 หมื่นล้านบาท ที่เป็นเงินอุดหนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้นเมื่การดำเนินการของสภาไม่ถูกต้อง ส.ว.จะเป็นตรายางให้ผ่านไปไม่ได้ เพราะจะถือว่าไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ จึงจะดำเนินการคัดค้านอย่างเต็มที่ ด้านนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ตนจะเสนอต่อที่ประชุมวุฒิสภาให้ชะลอการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯไว้ก่อน เพื่อให้รัฐบาลใหม่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา และนำร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ไปปรับปรุงตามนโยบายรัฐบาลใหม่ก่อน ซึ่งวุฒิสภายังมีเวลาพิจารณาถึงวันที่ 26 ก.ย. อีกทั้งขณะนี้ปัจจัยทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปมาก จีดีพีตอนนี้อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ไม่ใช่ 5.5 ตามที่ประมาณการไว้ในตอนแรก และอัตราเงินเฟ้อก็เปลี่ยนไป รวมถึงการใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ผ่านมา ก็กระทบต่อสถานะเศรษฐกิจอย่างมาก การประมาณการรายรับจึงอาจเปลี่ยนไปด้วย ดังนั้นตามหลักการมันควรรอรัฐบาลใหม่มาปรับปรุงก่อน เพื่อป้องกันรัฐบาลใหม่ปัดความรับผิดชอบ โดยอ้างว่างบตัวนี้ตั้งโดยรัฐบาลที่แล้ว และมาตรา 166 ยังระบุว่า หากออกพ.ร.บ.งบประมาณใหม่ไม่ทัน ก็ให้ใช้กฎหมายงบประมาณเก่านั้นไปก่อน ฉะนั้นจึงไม่น่ามีปัญหา นายเรืองไกร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้กระบวนการพิจารณางบประมาณของคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร อาจขัดรัฐธรรมนูญ เพราะมีการแปรญัตติลงพื้นที่ ทั้งนี้รัฐธรรมนูญมาตรา 168 วรรคห้า กำหนดให้ปรับลดได้เท่านั้นและทำรายการเพิ่มไม่ได้ ถ้าจะทำเพิ่มต้องให้ครม.ทำเป็นร่างแก้ไขเพิ่มเติมเข้ามา ส่วนวรรคหกก็ห้ามส.ส.หรือกรรมาธิการแปรญัตติที่มีส่วนโดยตรงหรือโดยอ้อม จึงมีประเด็นในส่วนที่คณะกรรมาธิการของสภาปรับเพิ่ม 4.5 หมื่นล้าน จุดนี้จึงสามารถยื่นศาลรัฐธรรมนูญได้ตามที่มาตรา 168 วรรคเจ็ดบัญญัติ แต่ตนจะรอดูก่อนว่า ส.ว.จะชะลอให้รัฐบาลใหม่เข้ามาปรับปรุงร่างแล้วเสนอเข้าสภามาอีกครั้งหรือไม่ค่อยดำเนินการ ขณะที่นาย สมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า การพิจารณาคงจะเป็นไปตามที่กำหนดไว้ และให้อภิปรายไปตามธรรมชาติ เพื่อที่จะให้รัฐมนตรีตอบข้อซักถาม ทั้งนี้ขณะนี้มีส.ว.แสดงความจำนงในการอภิปราย 74 คน ดังนั้น การประชุมในวันที่ 16 ก.ย. อาจได้แค่ครึ่งหนึ่ง และอาจพิจารณาต่อในวันที่ 19 ก.ย. แล้วจึงมีการลงมติในวันดังกล่าว ส่วนที่มีส.ว.จะเสนอให้ชะลอการพิจารณาออกไปก่อน ก็เป็นความคิดของส.ว.ส่วนหนึ่ง เพราะรัฐบาลคงเป็น 6 พรรคเหมือนเดิมไม่ได้มีการเปลี่ยนขั้ว และอาจมีการตั้งรัฐมนตรีคนเดิมกลับเข้ามาทำหน้าที่.

credit : daily news online
www.dailynews.co.th

พันธมิตรฯทนไม่ไหวลุยปรับปรุงสนามหญ้าตึกไทยฯ

พธม.ทนไม่ไหว ลุกขึ้นปรับปรุงพื้นที่หน้าสนามหญ้าตึกไทยคู่ฟ้าก่อนจะล้มป่วยเป็นโรคตาย “จำลอง” ยันการเมืองใหม่ภาคประชาภิวัฒน์เกิดขึ้นได้ ถ้าหากพปช.กลับใจเลิกผูกขาดในรัฐสภา ระบุสัดส่วนไม่จำเป็นต้อง 70 / 30 อ้างที่ผ่านมาแค่ยกเป็นตัวอย่างเท่านั้น
(15ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 06.00 น. เจ้าหน้าที่กองทัพธรรมประมาณ 100 คน นำโดย ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ ผู้ประสานงานกองทัพธรรม ได้ช่วยกันรื้อไม้พาเหรดที่วางทับดินโคลนบริเวณหน้าสนามตึกไทยคู่ฟ้าออกเพื่อปรับพื้นที่ใหม่ เนื่องจากขณะนี้กลุ่มผู้ชุมนุมประสบปัญหากับระบบสุขอนามัย โดยเฉพาะกลิ่นเน่าเหม็นและยุงลายที่มาวางไข่ตามแอ่งน้ำ โดยเจ้าหน้าที่กองทัพธรรมต้องโกยดินโคลนและหญ้าที่เน่าออก จากนั้นได้นำปูนขาวมาโรยทับถึง 3 ชั้นเพื่อฆ่าเชื้อโรคและป้องกันยุงลายมาวางไข่ พร้อมกันนี้ได้นำรถบำบัดน้ำเสียกำจัดกลิ่นและไขมันมาดูดดินโคลนที่เสียออกไปก่อนที่จะนำทรายมาเททับอีกชั้นหนึ่งเพื่อดูดซึมซับน้ำหากมีฝนตกลงมาอีก แล้วจึงนำไม้พาเหรดมาวางทับคืนที่เดิมเพื่อให้กลุ่มผู้ชุมนุมได้นั่งฟังการปราศรัย
ด้านพล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ชี้แจงว่า แนวคิดการรื้อพื้นนั้นมาจากผู้ชุมนุมที่เป็นวิศกรได้แนะนำว่าหากปล่อยให้พื้นที่ดังกล่าวเน่าเหม็นจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคและจะส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยได้ในอนาคต ดังนั้นทางกลุ่มพันธมิตรฯจึงขอปรับปรุงพื้นที่หน้าสนามหญ้าตึกไทยคู่ฟ้าทั้งหมด โดยวิศวกรคนดังกล่าวเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด แต่ทางกลุ่มพันมิตรฯพยายามที่จะเรี่ยไรเงินเพื่อช่วยสมทบในการปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าว
ต่อมาเวลา 10.00 น. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และนายสมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ร่วมกันแถลงข่าว โดยนายสมศักดิ์ กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มพันธมิตรฯเสนอให้จัดตั้งรัฐบาลประชาภิวัฒน์ว่า รายละเอียดยังไม่ได้กำหนด เพียงแต่ต้องการชี้ให้เห็นเป้าหมายก่อนและรอความเห็นจากหลายภาคส่วน สำหรับเป้าหมายรัฐบาลประชาภิวัฒน์เราต้องการผู้บริหารที่ไม่ทุจริต และยอมรับความคิดเห็นของประชาชนและมีส่วนร่วมกับประชาชนทุกส่วน รวมทั้งต้องตรวจสอบได้และถ้าไม่ดีต้องถอดถอนได้
เมื่อถามว่าแนวคิดการเมืองใหม่ยังคงยืนยันที่จะให้มีสัดส่วน 70 / 30 หรือไม่ พล.ต.จำลอง กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นอย่างนั้น แต่ที่เราเสนอมาเพื่อให้เป็นตัวอย่าง ไม่ต้องการส.ส.และส.ว.มาจากการเลือกตั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นจะเป็นการเปิดโอกาสให้เข้ามายึดครองสภา
“ที่พันธมิตรฯไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาเป็นแก้ไขเพื่อช่วยพวกพ้องตัวเอง ช่วยคนผิดให้กลายเป็นคนถูก พวกเราทนไม่ได้ที่จะให้กระบวนการยุติธรรมต้องถูกล่มสลาย พวกเราจึงต้องออกมา” พล.ต.จำลอง กล่าว
เมื่อถามว่าการเมืองใหม่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้ายังมีพรรคพลังประชาชนอยู่ใช่หรือไม่ พล.ต.จำลอง กล่าวว่า ยืนยันว่าการเมืองใหม่จะเกิดขึ้นได้ถ้าหากพรรคพลังประชาชนกลับใจ โดยจะต้องเลิกการผูกขาดในรัฐสภา นักการเมืองต้องมาจากกลายกลุ่มหลายอาชีพต้องมาจากการคัดสรร
ผู้สื่อข่าวถามว่าแนวคิดการเมืองใหม่จะไปถึงรัฐบาลได้อย่างไร นายสมศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้อยู่ที่จิตสำนึกของรัฐบาล ตนคิดว่าน่าจะมีการผลักดันเต็มที่เพื่อหาทางออก อย่างไรก็ตามคิดว่าแนวคิดดังกล่าวเป็นประชาธิปไตยทางตรงที่มีตัวแทนมาจากหลากหลายสาขาอาชีพอย่างชัดเจน เชื่อมั่นว่าแนวคิดนี้จะเป็นจริงได้ โดยอาศัยการต่อสู้ของภาคประชาชนที่ไม่ได้ยึดติดผลประโยชน์ส่วนตัว
ต่อข้อถามว่าถ้าพลังประชาชนยังยืนยันที่จะเสนอชื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ทางกลุ่มพันธมิตรฯจะเคลื่อนไหวอย่างไร นายสมศักดิ์ กล่าวว่า เราก็ไล่อยู่แล้ว ถือว่าไม่ฟังเสียงของประชาชนคิดว่ารัฐบาลไม่สามารถอยู่ได้ต้องมีการเปลี่ยนแปลง อย่างที่ผ่านมาที่มีการขับไล่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ได้นายสมัคร สุนทรเวช ได้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และพล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ กลับมาวนเวียนกันอยู่อย่างนี้ ฉะนั้นเราต้องขับไล่ต่อไปจนกว่าคนพวกนี้จะออกไปอย่างเบ็ดเสร็จ และมีรัฐบาลประชาภิวัฒน์
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะไม่ให้โอกาสนายสมชายทำงานก่อนหรือ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า เราไม่ยอมรับนายสมชายเป็นนายกฯใหม่ เพราะพฤติกรรมชัดเจนยิ่งกว่านายสมัคร สุนทรเวช ที่ถูกมองว่าเป็นนอมินี แต่นายสมชายเป็นยิ่งกว่านั้น เรียกได้ว่าเป็นเจ้าภาพของการโกง ไม่ใช่เป็นนอมินีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีแล้ว โดยเห็นว่าพฤติกรรมที่ผ่านมาได้แสดงเจตนาอยู่กับคนทำชั่ว แต่ทำไมพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลจึงยังเสนอชื่อนายสมชายเป็นนายกฯอยู่อีก

credit : คม ชัด ลึก
www.komchadluek.net

"อนุพงษ์"ปฏิเสธหนุนคนพปช.นั่งนายกฯ

"อนุพงษ์”ปฏิเสธหนุนคน พปช.นั่งนายกฯ ชี้นายกฯ คนใหม่ต้องลดความขัดแย้งได้ สั่งเรียกประชุม คกก.ดูแลความมั่นคงรับมือม็อบวันโหวตนายกฯ
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ถึงกระแสข่าวให้การสนับสนุนคนภายในพรรคพลังประชาชนขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีว่า ตนขอปฎิเสธถึงข่าวดังกล่าว ไม่เป็นความจริง และขอยืนยันว่า ตนไม่เคยให้การสนับสนุนใครคนใดคนหนึ่งในพรรคพลังประชาชน อย่างที่บางคนนำไปกล่าวอ้าง เนื่องจากตนไม่เคยสนับสนุนบุคคลใดบุคคลหนึ่งในการเลือกนายกรัฐมนตรี เพราะการเลือกสรรตัวนายกรัฐมนตรีเป็นเรื่องของฝ่ายการเมือง ทหารจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือก้าวก่ายทางการเมืองอย่างแน่นอน
ส่วนนายกรัฐมนตรีคนต่อไปนั้น เห็นว่าจะต้องเป็นบุคคลที่มีความเหมาะสมและต้องเป็นคนที่สามารถคลี่คลายปัญหา ลดความขัดแย้งสามารถยุติปัญหาในบ้านเมือง และทำให้สถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้นได้
พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ส่วนการตั้งคณะกรรมการติดตามสถานการณ์เพื่อดูแลความมั่นคงนั้น ส่วนหนึ่งจะใช้คณะกรรมการชุดเดิมที่จะมาจากทุกส่วนราชการมาเป็นผู้วิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางปฏิบัติให้ทางรัฐบาลทราบว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ซึ่งคณะกรรมการชุดใหม่จะมีการประชุมหารือหลังจากที่รักษาการนายกรัฐมนตรีลงนามคำสั่ง ซึ่งน่าจะลงนามในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 16 ก.ย.นี้
ขณะนี้ทางเลขาสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กำลังเสนอคำสั่งนี้ให้กับทางรัฐบาลอยู่ เมื่อลงนามเรียบร้อย คณะกรรมการจะสามารถประชุมได้ทันที หรืออย่างช้าในวันที่ 17 ก.ย.นี้ เพื่อเตรียมพร้อมหากเกิดเหตุการณ์ในวันโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี แต่คาดว่าเหตุการณ์จะไม่รุนแรง อย่างไรก็ตามในการดูแลความเรียบร้อยเรามีเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นหลักในการดูแลอยู่แล้ว

credit : คม ชัด ลึก
www.komchadluek.net

ลุ้นน้ำมันโลกปตท.จ่อลดราคา โอดแบกภาระนำเข้า"แอลพีจี"

ปตท.แจงบาทอ่อนดันต้นทุนเพิ่ม รอดูราคาน้ำมันโลกอีก 1-2 วันหากยังลงเตรียมปรับราคา โอดแบกภาระนำเข้าแอลพีจีแล้วกว่า 4,000 ล้านบาท คาดถึงสิ้นปีไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้าน
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังลดลงต่อเนื่อง ใน 1-2 วันนี้ ปตท.จะพิจารณาปรับลดราคาน้ำมันลง ซึ่งการที่ ปตท. ไม่ได้ปรับราคาจำหน่ายในประเทศลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลกช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมา 2-3 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้น
ส่วนการนำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) นั้น ยอมรับว่าตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-กันยายนนี้ ปตท.ต้องแบกรับภาระการนำเข้าแอลพีจีแล้วกว่า 4,000 ล้านบาท และคงต้องรับภาระการนำเข้าต่อไปทุกเดือน จนกว่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่มาพิจารณาปรับราคาแอลพีจีในภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้เพิ่มขึ้น คาดว่าจนถึงสิ้นปีนี้ ปตท.ต้องรับภาระจากราคานำเข้าแอลพีจีเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท
รายงานข่าวระบุว่า ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานได้กำหนดปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรมให้เสร็จภายในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แต่เนื่องจากต้องนำเสนอเรื่องต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิจารณาตัดสิน แต่เมื่อเกิดปัญหาทางการเมืองจึงยังไม่มีการประชุมและพิจารณาการปรับขึ้นราคาแอลพีจี
แหล่งข่าว จากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้ทำแผนการปรับราคาแอลพีจีสำหรับภาคขนส่งไว้เป็นขั้นบันได เบื้องต้นได้มีการเสนอปรับราคาก๊าซแอลพีจีไว้ที่ 5 ระดับ โดยจะให้ปรับราคาขายก๊าซแอลพีจีครั้ง 2 บาท เป็นเวลา 5 ครั้ง ดังนั้นราคาก๊าซแอลพีจีสำหรับรถยนต์จากลิตรละ 11 บาทเริ่มต้นแต่ราคาสูงสุดอยู่ที่ลิตรละ 21 บาท

credit : คม ชัด ลึก
www.komchadluek.net

การเมืองยุ่ง-การมุ้งแย่ 'เซ็กซ์เกรด4' ชายไทย 'ดีกรีหย่อน'


การเมืองไทยที่ยุ่งเหยิงวุ่นวายต่อเนื่องมานาน ส่งผลให้คนไทยจำนวนมากทั้งเบื่อ ทั้งเครียด ทั้งเดือดร้อนจากผลกระทบที่เกิดขึ้น...ไม่ว่าจะกับการใช้ชีวิตประจำวัน การทำมาหากิน การทำธุรกิจ บางคนถึงกับเปรยติดตลกว่าติดตามข่าวคราวการเมืองตอนนี้แล้วเซ็งสุด ๆ จน จะพาให้ “เซ็กซ์เสื่อม” ได้ง่าย ๆ ?!? เรื่องการเมืองจะมีส่วนมาก-น้อยอย่างไร...ก็ไม่รู้ล่ะ... รู้แต่ว่า “เซ็กซ์เสื่อม” นี่....คนไทยก็เป็นกันไม่น้อย !! ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีรายงานการสำรวจตัวเลขผู้ชายทั่วโลกที่อยู่ใน ภาวะเซ็กซ์เสื่อมหรือมีอาการ “หย่อนสมรรถภาพทางเพศ” พบว่ามีมากกว่า 100 ล้านคน และในจำนวนคนกลุ่มนี้ก็มีจำนวนมากที่มีปัญหาความเครียด กระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว เกิดอาการซึมเศร้า สูญเสียความนับถือในตัวเอง สำหรับในประเทศไทย ก็เคยมีการทำการสำรวจเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2547 โดยมีการสำรวจชายไทยทั่วประเทศที่มีอายุระหว่าง 40-70 ปี จำนวน 1,250 คน และพบว่าในจำนวนนี้หย่อนสมรรถภาพทางเพศในอัตรา 43% โดยมีอาการตั้งแต่น้อยคือ ร่วมเพศไม่สำเร็จ สำเร็จบางครั้ง ไปจนถึงไม่สามารถ จะร่วมเพศได้เลย อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศหรือเซ็กซ์เสื่อม เรื่องนี้ก็ส่งผลลบต่อเนื่องหลายด้าน จึงมีการให้ความสำคัญกับการรักษามากขึ้น และช่วง 1 ทศวรรษที่ผ่านมาก็มีวิธีการรักษาที่ได้ผลมากขึ้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ในเมืองไทยได้มีการจัดสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง “10 ปีแห่งนวัตกรรมระดับโลก เพื่อสัมพันธ์รักที่สุขสมระดับเกรด 4” โดย บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และมีการเชิญ ศ.นพ.เออร์วิน โกลด์สทีน ผอ.ศูนย์การแพทย์ด้านเพศ ซานดิเอโก โรงพยาบาลอัลวาราโด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศระดับโลก มาร่วมด้วย และทาง ศ.นพ.เออร์วินก็ได้แสดงทรรศนะ ผ่าน พญ.อรนุช อรุณทัต ผอ.ฝ่ายการแพทย์ของไฟเซอร์ ซึ่งก็น่าสนใจ... “เกรด 4.-.4 เกรด” กับเรื่อง “สัมพันธ์รักที่สุขสม” นั้น ขยายความโดยทฤษฎีการประเมินภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ของ ศ.นพ. เออร์วิน ก็คือ... เป็นการ “ประเมินระดับการแข็งตัวของอวัยวะเพศชายโดย แบ่งเป็นเกรด 1-4” หรือ “Erection Hardness Score” ได้แก่... เกรด 1 อวัยวะเพศขยายขนาดใหญ่ขึ้น แต่ไม่แข็งตัว, เกรด 2 อวัยวะเพศแข็งตัว แต่ไม่แข็งพอที่จะสอดใส่เพื่อมีเพศสัมพันธ์ได้, เกรด 3 อวัยวะเพศแข็งตัว พอที่จะสอดใส่เพื่อมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่ยังแข็งตัวไม่เต็มที่, เกรด 4 อวัยวะ เพศแข็งตัวได้อย่างเต็มที่ และเต็มขนาด ซึ่งชายทั่วไปก็ย่อมอยากจะเป็นเกรด 4 อย่างไรก็ดี ในสภาพความเป็นจริงนั้น ชายที่สัมพันธ์รักสุขสมไม่ ถึงระดับเกรด 4 มีจำนวนมาก โดยผู้ชายที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหย่อนสมรรถ ภาพทางเพศ หรือ “Erectile Dysfunction : ED” นั้น ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป (อายุน้อยกว่านี้ก็เสี่ยงได้ ถ้าอวัยวะเพศถูกกระแทกแรง ๆ), ผู้ที่มีไขมันในเส้นเลือดสูง, ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน, ผู้ที่อ้วนลงพุง, ผู้ที่สูบ บุหรี่ และจากการศึกษาเพิ่มเติมยังพบว่า ผู้ที่ขี่จักรยานนาน ๆ บ่อย ๆ ก็เสี่ยง เนื่องจากน้ำหนักจะกดทับเส้นเลือดบริเวณอวัยวะเพศขณะนั่งบนเบาะจักรยานที่เล็ก ศ.นพ.เออร์วินบอกว่า... อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่คน ทั่วโลกเป็นกันมานานนี้ ในอดีตไม่มีการศึกษากันอย่างจริงจังและคิดว่าปัญหาเกิดจากสมอง แต่เมื่อมีการศึกษาเรื่องนี้ก็ทำให้รู้ว่าในเพศชายเกิดจากการอุดตันของเส้นเลือดที่อยู่ในส่วนของอวัยวะเพศ เลือดไม่สามารถผ่านเข้าไปได้ ทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งหรือแข็งไม่เต็มที่ ซึ่งเส้นเลือดแดงที่เป็นท่อนำเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะเพศนั้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 1 มิลลิเมตรเท่านั้น เทียบกับเส้นเลือดที่หัวใจแล้วจะเล็กกว่า 4 เท่า จึงมีสิทธิที่จะอุดตันได้เร็ว “ผู้ที่มีปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัวควรรีบไปพบแพทย์ เพราะคน ที่เส้นเลือดที่อวัยวะเพศอุดตันก็เป็นสัญญาณเตือนว่าเส้นเลือดหัวใจอาจจะ อุดตันได้ และจากการศึกษามา 5 ปีพบว่าผู้ที่เป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทาง เพศ 11% จะหัวใจวายจากการที่เส้นเลือดหัวใจอุดตัน” ...ผู้เชี่ยวชาญระบุ ส่วนการรักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศนั้น ในช่วง 30 กว่าปีที่ผ่านมาก็มีพัฒนาการเป็นลำดับ กล่าวคือ... ปี 2516 เริ่มใช้วิธีผ่า ตัดฝั่งแกนเทียมเข้าไปในอวัยวะเพศ, ปี 2526 เริ่มรักษาโดยการใช้กระบอกสุญญากาศ, ปี 2538 เริ่มรักษาด้วยวิธีการฉีดยาเข้าในอวัยวะเพศ, ปี 2540 เริ่มใช้วิธีการสอดยาผ่านเข้าทางท่อปัสสาวะ และปี 2541 จนปัจจุบัน ก็มีวิธีรักษาด้วยยาชนิดรับประทาน มีการศึกษาจริงจังจนทำให้ได้ตัวยาที่ช่วยผู้ป่วยได้ ด้วยวิธีที่ง่าย สะดวก มีประสิทธิภาพ โดยสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านจิตใจ เป็นโรคซึมเศร้า ทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศ สามารถใช้ยาช่วยได้ พอหาย ซึมเศร้าการแข็งตัวก็จะดีขึ้นเอง และหยุดใช้ยาได้ “เรื่องทางเพศนั้นเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เป็นเรื่อง ที่ไม่สามารถแยกออกจากชีวิตของมนุษย์ การที่ทำให้อาการหย่อนสมรรถ ภาพทางเพศหาย ช่วยทำให้สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ดี ก็จะทำให้ชีวิตคู่มีความสุข สภาพจิตใจผู้ป่วยก็ดี มีความสุขขึ้น” ...ศ.นพ.เออร์วิน ระบุ “เซ็กซ์เสื่อม” ผู้ชายไทยก็เป็นกันจำนวนมิใช่น้อย ๆ แก้ไขให้กลับมา “เกรด 4” ได้...ชีวิตคู่ก็น่าจะดีขึ้น แต่ “ดีที่สุดคือไม่ทำตัวให้เสี่ยง” ก่อนวัยอันควร !!.




ส.ส.เข้าประชุมรับทราบมติพรรคให้สมชายนั่งนายกฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น. ส.ส.พรรคพลังประชาชนได้รับทราบมติของคณะกรรมการบริหารพรรค ที่เลือกนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ในการประชุมจะมีการพิจารณาและเปิดอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยขณะนี้มี ส.ส. ทยอยเดินทางเข้าร่วมประชุมพรรคอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ส.ส.กลุ่มอีสานพัฒนาได้ออกมาแสดงความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ยอมรับมติพรรค

นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม แกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา กล่าวว่า กลุ่มอีสานพัฒนายอมรับมติพรรคที่เสนอนายสมชายเป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนกรณีที่ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวินมีความเห็นแตกต่างนั้น คงต้องยึดหลักเสียงส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับนายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร ที่ยอมรับในมติพรรค และเชื่อว่าความเห็นต่างของ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน จะสามารถตกลงทำความเข้าใจกันได้

14 กันยายน 2551

สมชาย หารือ ผบ.ทบ.ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 18.15 น. วันที่ 13 ก.ย. ที่บ้านพักภายในกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ (ร.1รอ.) นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการนายกรัฐมนตรี เดินทางเข้าพบ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบและมอบอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ภายหลังการหารือกว่า 1 ชั่งโมง ได้ข้อสรุปว่า เนื่องจากสถานการณ์ขณะนี้มีแนวโน้มอยู่ในทางปกติ ไม่มีเหตุการณ์ รุนแรง รวมถึงหากมีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต่อไปจะทำให้เกิดความเสียหายต่อนักลงทุน และกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศ จึงมีความเห็นตรงกันว่า จะยกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยจะใช้กฎหมายปกติในการปฏิบัติควบคุมสถานการณ์ พร้อมมอบหมายให้ ผบ.ทบ.เป็นผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อย มีหน้าที่รับผิดชอบรักษาความสงบเรียบร้อย ภายในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งแนวทางการปฏิบัติจะมอบหมายให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. เป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลความไม่สงบภายใน หากเกินกำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจก็สามารถร้องขอกำลังทหาร เข้าไปช่วยเหลือในลักษณะผู้ช่วยเจ้าพนักงาน โดยในวันที่ 14 ก.ย.นี้ เวลา 10.00 น. นายสมชาย พล.อ.อนุพงษ์ และ พล.ต.อ.พัชรวาทจะร่วมแถลงข่าวยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่กองบัญชาการกองทัพไทย
“อนุพงษ์” เสนอยกเลิกภาวะฉุกเฉิน
ก่อนหน้านี้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. และหัวหน้าผู้รับ ผิดชอบแก้ไขในสถานการณ์ฉุกเฉิน กล่าวถึงการประกาศยกเลิก พ.ร.ก.บริหารบ้านเมืองในสถานการณ์ฉุกเฉินว่า สถานการณ์ฉุกเฉินที่คณะกรรมการได้พิจารณาร่วมกัน ในเรื่องของการปะทะกันของกลุ่มผู้ชุมนุม 2 กลุ่ม ขณะนี้ทางฝ่ายตำรวจและทหารได้เตรียมแผนรองรับไว้แล้ว คาดว่าน่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ดังนั้นสถานการณ์ น่าจะไม่ต้องใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในการดำเนินการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้ส่งผลกระทบต่อทางเศรษฐกิจและสังคมมาก จึงคิดว่าน่าจะพิจารณาในการยกเลิก รวมถึงในเรื่องภาพพจน์ต่อต่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว เพราะการเดินทางมาประเทศที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน ทางประกันภัยเขาจะไม่รับรอง ดังนั้นเขาจึงไม่กล้าเดินทางมา เมื่อถามว่า จำเป็นจะต้องมีการคงการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินจนกว่าจะมีการเลือกนายกฯคนใหม่หรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ตอบว่า คงต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาลว่า จะเห็นเหมาะสมประการใด เมื่อถามว่า หวั่นหรือไม่ว่าจะเกิดการปะทะกันระหว่างคนสองกลุ่มอีก พล.อ.อนุพงษ์ ตอบว่า เท่าที่เราได้เตรียมแผนไว้เพื่อดูแลในส่วนนี้ ได้ พยายามสร้างความเข้าใจ จึงคิดว่าไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรง ทั้งนี้ได้ให้กองทัพภาคที่ 1 และตำรวจนครบาลประสานกับ นปช.
ให้การเมืองแก้ไขปัญหาของตัวเอง
เมื่อถามว่า ยืนยันว่าจะไม่มีการสลายม็อบในช่วงสูญญากาศ พล.อ.อนุพงษ์ตอบว่า คณะกรรมการได้ให้ข้อพิจารณาในเรื่องนี้ว่า เดิมทีเขามีการชุมนุมอยู่แล้ว เมื่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกมาสั่งว่าห้ามชุมนุมเกิน 5 คน เท่ากับว่ามีการชุมนุมอยู่แล้ว แต่สั่งห้ามหมายความว่าต้องเข้าไปดำเนินการ แต่เมื่อมีการดำเนินการไปครั้งหนึ่งโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผลที่ตามมายิ่งทำให้เกิดปัญหาและความไม่สงบมากกว่าเดิม อย่างนี้ไม่ได้เรียกว่าแก้ปัญหา แต่ไปเพิ่มปัญหา ดังนั้นต้องใช้มิติอื่น ขณะนี้ทางการเมืองพยายามแก้ไขสถานการณ์ อย่างเช่นที่ผ่านมานายกฯได้มีการดำเนินการ และประชาชนทั่วไปคงจะลดอุณหภูมิในการที่จะไปมีส่วนร่วม ดังนั้นเชื่อว่าน่าจะค่อยๆแก้ปัญหาไปได้เรื่อยๆในตัวเอง เมื่อถามว่า ทำอย่างไรให้ทหารอดทนต่อสถานการณ์ ทางการเมืองได้ พล.อ.อนุพงษ์ตอบว่า เราต้องพูดให้ทุกคนเข้าใจว่า ทหารควรจะเป็นหลักของบ้านเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เราต้องประกันความมั่นคงของประเทศชาติ ยืนยันว่าไม่มีวาระส่วนตัวใดๆทั้งสิ้น
เรื่องรัฐบาลแห่งชาติคงเป็นไปได้ยาก
เมื่อถามว่า มีนักการเมืองตั้งข้อสังเกตว่าทหารบางกลุ่มไปล็อบบี้ทางการเมือง พล.อ.อนุพงษ์ตอบว่า ไม่มี เข้าใจคงทำไม่ได้ เพราะนักการเมืองมีปัจจัยที่จะต้องพิจารณาร่วมกันในเรื่องอื่นๆ เมื่อถามว่า หากตกลงกันไม่ได้ จะนำไปสู่การตั้งรัฐบาลแห่งชาติ หรือนายกฯคนนอกหรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ตอบว่า รัฐบาลแห่งชาติคงมีความยากพอสมควรที่จะเกิดขึ้นได้ และบางคนไม่ค่อยจะยอมรับ เพราะใช้ในช่วงสั้นๆเท่านั้น และไม่มีฝ่ายค้านที่คอยตรวจสอบ ถ่วงดุล ส่วนนายกฯคนนอกยิ่งยาก เพราะเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญด้วย เมื่อถามว่า ขณะนี้พอจะเห็นนายกฯคนใหม่หรือยัง พล.อ.อนุพงษ์ตอบว่า คงจะต้องมีได้แน่นอนในจำนวน ส.ส. ที่มีอยู่ เมื่อถามถึงกรณีที่ท่านระบุว่า นักการเมืองควรจะต้องเสียสละ พล.อ.อนุพงษ์ตอบว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็แล้วแต่ เมื่อปัญหาเกิดขึ้นต้องมีคนยอมเสียสละ เพื่อจะได้สามารถตกลงกันได้ แต่ตนไม่ได้ระบุว่าจะต้องเป็นใคร เมื่อถามว่า หนักใจหรือไม่ที่ประชาชนฝากความหวังให้กองทัพแก้ปัญหา พล.อ.อนุพงษ์ตอบว่า เข้าใจว่าทุกคนในประเทศเราหนักทั้งนั้น หนักที่จะต้องหาทางสร้างความเข้าใจทุกๆฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ นักวิชาการพยายามช่วยทำให้ลุล่วงไปได้ แต่ยังคิดว่าหนัก
จุดยืนกองทัพคือไม่ยุ่งเกี่ยวการเมือง
เมื่อถามว่า การเมืองยังหาทางออกให้กับสถานการณ์ไม่ได้ กองทัพจะมีจุดยืนอย่างไร พล.อ.อนุพงษ์ ตอบว่า คงเหมือนเดิม เพราะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเมืองพยายามแก้ไขปัญหากันอยู่ เราคงเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือแทรกแซงไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ส่วนกรณีที่ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ได้ เข้าไปมีส่วนร่วมกับกลุ่ม นปช.นั้น ได้ให้เพื่อนร่วมรุ่นของ พล.ต.ขัตติยะติดต่อไปอย่างไม่เป็นทางการ อย่างไร ก็ตาม เท่าที่ติดตามสถานการณ์เชื่อมั่นว่าคนในกองทัพมีความเข้าใจตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ไม่เคยมีใครวุ่นวาย และยังอยู่ในสถานะที่เรียบร้อยอยู่ เมื่อถามว่า รู้สึกอย่างไรที่มีประชาชนพยายามปลุกให้ทหารออกมาปฏิวัติ พล.อ.อนุพงษ์ตอบว่า 1. คือถ้าทำแล้วจะแก้ปัญหาได้หรือไม่ และเมื่อคิดทีละประเด็นไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เลย 2. คือเมื่อทำแล้วผลกระทบที่ตามมาไม่ว่าจากภายใน ทั้งกลุ่มนักวิชาการ อาจารย์ กลุ่มไม่เอาการปฏิวัติ และกลุ่มต่อต้านเดิมที่มีอยู่ รวมถึงผลกระทบระหว่างประเทศ และเศรษฐกิจ ซึ่งจะน่าส่งผลกระทบมากและสูงกว่าที่จะรับได้ รวมถึงอาจจะไม่ได้เรียกว่าแก้ปัญหา และไม่น่าจะทำได้ เพราะมีผลกระทบถึง 2 อย่างจึงไม่น่าจะใช้วิธีนี้ รวมถึงได้มีการประเมินบทเรียนจากการปฏิวัติครั้งที่ผ่านมาด้วย
นายกฯใหม่ต้องไม่สร้างความขัดแย้ง
เมื่อถามว่า พอใจหรือไม่ที่การโหวตเลือกนายกฯเลื่อนออกไป เพราะได้ช่วยคลี่คลายสถานการณ์ไปบ้าง พล.อ.อนุพงษ์ตอบว่า รู้สึกเช่นเดียวกับประชาชนทั่วๆไป ถ้าอะไรที่เกิดขึ้น ประชาชนเขารู้สึกเบา ก็รู้สึกเบาไปด้วย ทั้งนี้ มั่นใจว่าข้าราชการในกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ มีความเข้าใจสถานการณ์ ทุกคนพยายามที่จะทำให้สถานการณ์ผ่านไปด้วยดี เมื่อถามว่า หากได้นายกฯเร็วๆจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นหรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ตอบว่า น่าจะดีขึ้น เพราะเราคงทนสุญญากาศไม่ได้ ในขณะนี้ถ้าสามารถจบเรื่องความขัดแย้งได้ และให้ประเทศเดินหน้าไปได้ น่าจะเป็นเรื่องที่ดี เมื่อถามว่า นายกฯคนใหม่ควรมีลักษณะอย่างไร พล.อ.อนุพงษ์ตอบว่า อย่างที่ทุกคนเห็นว่าหากมีความขัดแย้งอยู่ก็ต้องเป็นวาระเร่งด่วน หากตรงนี้จบได้ ประเทศเราเดินหน้าได้แน่นอน เมื่อถามว่า จุดยืนของกองทัพต่อผู้ที่จะมาเป็น รมว.กลาโหม ต้องเป็นอดีตนายทหารหรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ตอบว่า ไม่จำเป็น เพราะที่ผ่านมานายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯและ รมว.กลาโหม ดูแลดำเนินการให้กระทรวงกลาโหมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยได้ เมื่อถามว่า ต้องกระซิบทหารก่อนหรือไม่ ว่าจะนำใครมาเป็น รมว.กลาโหม พล.อ.อนุพงษ์ตอบว่า ไม่

นายกฯ ใหม่ต้องซื่อสัตย์ เร่งแก้ไขความแตกแยก

ผู้สื่อข่าวรายงาน วันนี้ (14 ก.ย.) ว่า สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 2,809 ตัวอย่าง เกี่ยวกับวาระแห่งชาติในสายตาประชาชนที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่เร่งแก้ไข ผลปรากฏว่า ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจต่อประวัติและผลงานของแกนนำพรรคพลังประชาชนที่มีโอกาสเป็นนายกฯ แตกต่างกัน โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 58.6 สนใจนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ร้อยละ 51.2 สนใจนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ร้อยละ 48.3 สนใจ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี และร้อยละ 41.5 ไม่สนใจใครเลย
นอกจากนั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 68.7 ไม่คิดจะแสดงตนคัดค้านแกนนำพรรคพลังประชาชนในการเป็นนายกฯ คนต่อไป กรณีพรรคพลังประชาชนเสนอคนหนึ่งคนใดในแกนนำทั้ง 3 คน คือ นายสมพงษ์ นายสมชายและ นพ.สุรพงษ์ โดยให้เหตุ ผล เพราะเป็นความถูกต้อง เป็นประชาธิปไตย อยากเห็นความสงบสุขของบ้านเมือง ไม่อยากให้ประเทศชาติเสียหายและไม่ชอบความวุ่นวาย ส่วนร้อยละ 19.7 ระบุว่า จะคัดค้าน และที่ร้อยละ 11.6 ไม่มีความคิดเห็น

สำหรับในหัวข้อคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นนายกฯ คนต่อไป จากผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 77.6 ระบุว่า เป็นความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 72.7 ระบุว่า สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ดี ร้อยละ 70.9 ระบุว่า รักชาติและประชาชนอย่างเท่าเทียมไม่แบ่งแยก

ทั้งนี้ ในหัวข้อวาระแห่งชาติที่ต้องการให้นายกฯ คนใหม่เร่งแก้ไข ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 84.7 เป็นปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ ร้อยละ 78.2 เป็นปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาปากท้องของประชาชน และร้อยละ 74.1 เป็นปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ

11 กันยายน 2551

พลังเยาวชนร่วมกู้ชาติ ขับไล่รัฐบาลทรราช




เก็บตกประมวลภาพความน่ารักในนาทีแห่งประวัติศาสตร์ และความทรงจำดีๆ ของบรรดานักเรียน นิสิต นักศึกษา เครือข่ายเยาวชนกู้ชาติหรือ Young PAD ที่ออกมารวมตัวบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ เมื่อวันวานที่ผ่านมา เพื่อต่อต้านความไม่ชอบธรรมของรัฐบาลที่ใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กรณีสั่งห้ามนิสิตนักศึกษาชุมนุมแสดงความคิดเห็นทางการเมือง




รวมพี่น้อง







ทำอะไรเหรอ












เขินจัง




น่ารักจังเลย



น่ากลัวจังเลย

10 กันยายน 2551

'บรรหาร' อ้ำอึ้งหนุน 'สมัคร' นั่งนายกฯ


เวลา 10.30 น. วันนี้ (10 ก.ย.) ที่พรรคชาติไทย นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย (ชท.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พรรคพลังประชาชน (พปช.) จะมาทาบทามเข้าร่วมรัฐบาล ต้องหารือกันก่อน ดูว่า พปช.จะว่าอย่างไร ซึ่งการประชุมเลือกนายกรัฐมนตรีวันที่ 12 ก.ย. เร็วไปหรือไม่นั้น ต้องไปถามประธานสภาฯ แต่เมื่อไม่มีรัฐบาลและถ้าสามารถทำได้เร็ว โดยที่ไม่ผิดขั้นตอนก็น่าจะทำได้ เพราะจะกลายเป็นสุญญากาศและรัฐมนตรีที่ทำงานอยู่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะเป็นแค่รักษาการ อย่างไรก็ตาม การเลือกนายกฯ คนใหม่ในขณะนี้ ยังไม่มีการหารือกันในพรรคร่วมรัฐบาล ทั้งนี้ ทางพรรคจะหารือกันวันพรุ่งนี้ (11 ก.ย.)
นายบรรหาร กล่าวด้วยว่า นายกฯ คนใหม่ต้องเป็นคนที่มีลักษณะรอมชอม ถ้อยทีถ้อยอาศัย เพราะบ้านเมืองวุ่นวายมามากแล้ว เมื่อถามว่ามีกระแสข่าวว่าจะมีการเปลี่ยนขั้วไปอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และชูให้นายบรรหารเป็นนายกฯ นายบรรหารกล่าวว่า เป็นไปไม่ได้ ตนพูดตั้งแต่เริ่มจัดตั้งรัฐบาลแล้ว แค่ 220 กว่าเสียงจะจัดตั้งรัฐบาลได้อย่างไร พระเจ้าให้เสียงมาแค่นี้ รอให้พรรค ชท.ได้ถึง 250 เสียงก่อน ทุกอย่างมันเดตล็อกทำอะไรไม่ได้ เมื่อถามว่าอาจจะมีงูเห่าภาค 2 หรือไม่ นายบรรหารกล่าวว่า พรรค พปช.มีมติชัดเจนแล้วจะเกิดงูเห่าได้อย่างไร ตอนนี้พูดลำบากมาก พูดไปทางไหนก็ไม่ได้ พูดยาก แต่เชื่อว่าจะมีข้อยุติที่ดีและคงไม่บานปลาย
ผู้สื่อข่าวถามว่ามังกรการเมืองยังประเมินสถานการณ์ทางการเมืองไม่ออกหรือ นายบรรหาร กล่าวว่า มังกรตอนนี้เป็นกิ้งกือไปแล้ว มันแย่ ไม่รู้จะทำอย่างไร เมื่อถามต่อว่าหากพรรค พปช. ติดต่อให้นายบรรหารเป็นนายกฯ จะรับหรือไม่ นายบรรหารกล่าวว่า เป็นไปไม่ได้ตัวเลือกของพรรค พปช.มีหลายคน คงไม่มาเลือกเราหรอก คงเลือกคนของเขาเอง เมื่อถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรค พปช. เป็นนายกฯ นายบรรหาร กล่าวว่า ใครก็เป็นได้ทุกคน นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรค พปช.ก็เป็นได้ เมื่อถามย้ำว่าไม่ควรเป็นคนเดิมใช่หรือไม่ นายบรรหาร กล่าวว่า ไม่ทราบ อยู่ที่มติพรรค พปช. ตนไปก้าวก่ายไม่ได้.
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์

ID 5131601176 sec 1 law

ไม่เอา"สมัคร"นายกฯรอบสอง อีสานพัฒนา หวั่นบ้านเมืองวุ่น



กลุ่มอีสานพัฒนา หวั่นบ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย ไม่เอา"สมัคร"เป็นนายกฯรอบสอง "ไพจิต” ระบุ พปช.เสนอชื่อ“สมัคร”นายกฯ ไม่ใช่มติพรรค ย้ำต้องประชุมกันก่อนโหวต
(10ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังนายสมัคร สุนทรเวช ถูกศาลรธน.ลงมติให้พ้นจากพ้นความเป็นรัฐมนตรีกรณีจัดรายการชิมไปบ่นไป ตลอดช่วงเช้าได้มีควาเคลื่อนไหว อย่างคึกคักในส่วนของสส.พรรคพลังประชาชนแต่ละกลุ่มที่ มีการนัดหารือภายในกลุ่มคาดหารือ เพื่อหาข้อรุปในการแสดงจุดยืน่าจะสนับสนุนนายสมัครเป็นนายกฯต่อหรือไม่ โดยส.ส.กลุ่มอีสานพัฒนานำโดยนายศักดา กงเพชร นายไพจิต ศรีวรขาน พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ และนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข ซึ่งเสนอแย้งในที่ประชุมว่าไม่ควรสนับสนุนนายสมัครเป็นนายกฯเนื่องจากปัญหาจะไม่จบ
นายศักดา กล่าวว่า ช่วงเที่ยงก่อนการปะชุมสภาจะนัดหารือภายในกลุ่มโดยได้นัดหารือที่โรงแรมแห่งหนึ่ง ใกล้รัฐสภาเพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจนในการเลือกนายกฯคนใหม่ โดยเบื้องต้นไม่เห้นด้วยกับการเสนอนายสมัครเป็นนายกฯและไม่เห็นด้วยกับการที่สส.กลุ่มเพื่อนเนวิน อ้างว่าเป็นมติของพรรคจะสนับสนุนนายสมัครต่อ โดยเราเห็นว่าควรรอฟังท่าทีพรรคร่วมและหากพรรคร่วมเห็นไปในทิศทางใด กลุ่มอีสานพัฒนาก็จะสนับสนุน
ผู้สื่อข่ายรายงานว่าสส.ภาคเหนือ จะนัดหารือที่รร.ปริ๊นพาเช ช่วงเที่ยงในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
ด้านนายไพจิต ศรีวรขาร รองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) และแกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา พรรคพลังประชาชน กล่าวยอมรับว่าได้มีการพูดคุยกับแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็ต้องดูว่าจะจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันได้หรือไม่ เพราะเราต้องฟังเสียงประชาชนด้วยว่าจะมีความเห็นอย่างไร และการที่พรรคประชาธิปัตย์ออกมาเคลื่อนไหวขณะนี้ ก็ถือเป็นกลยุทธ์ทางการเมืองอย่างหนึ่ง แต่ยอมรับว่าการที่ ส.ส.จะเดินหน้าหรือถอยหลังบ้าง ก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะต้องดูว่าอยู่ฝั่งไหนแล้วจะได้เป็นส.ส.หรืออยู่ฝั่งไหนแล้วจะสอบตก
ส่วนกรณีที่โฆษกพรรคพลังประชาชนออกมาแถลงว่าพรรคพลังประชาชนจะเสนอชื่อนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นเพียงแค่เสียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่มติของพรรคทั้งหมด เพราะในช่วงที่มีการประชุมส.ส.ของพรรค ส.ส.ได้เข้าร่วมประชุมกันครบจริง แต่เมื่อถึงช่วงที่ศาลวินิจฉัยแล้วก็เหลือ ส.ส.เพียงเล็กน้อย ดังนั้นคงจะต้องมีการประชุมอย่างเป็นทางการอีกครั้งว่าจะเสนอชื่อใคร ก่อนการประชุมสภาเพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 12 ก.ย.นี้ ซึ่งขณะนี้แต่ละกลุ่มในพรรคก็คงกำลังพูดคุยกันอยู่ รวมถึงพรรคร่วมรัฐบาลด้วย ต้องขอขอบคุณพรรคร่วมรัฐบาลที่ยังจะสนับสนุนคนของพรรคพลังประชาชนให้เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะเสนอชื่อนายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เพราะไม่ว่าจะเสนอใครขึ้นมาก็ไม่ถูกใจคนทั้งหมดอยู่แล้ว แต่หากไม่ใช่นายสมัคร ก็จะเสนอชื่อคนที่ 6 พรรคพอใจ เพื่อลดแรงเสียดทานทางการเมือง และให้งานของสภาเดินไปได้ด้วยดี
ทั้งนี้คนที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ จะต้องสามารถลดข้อขัดแย้งในสังคมได้ เพื่อเป็นหนทางที่จะทำให้บ้านเมืองเดินไปได้ด้วยดี อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าหากนายสมัครกลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกก็ยังจะมีแรงเสียดทานจากสังคมอยู่ แต่ก็เชื่อว่าไม่ว่าใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ก็จะมีทางออกให้กับบ้านเมืองได้
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
ID 5131601176 sec1 law

จับตาครม.ประชุมนัดพิเศษ2ทุ่มคืนนี้ พปช.ให้"ยงยุทธ"คุย"สมัคร"ถกทางออกการเมือง "เลี้ยบ"เผยไม่มีโอกาสพบ

ครม.นัดประชุมด่วน 2 ทุ่ม คืนนี้ที่กองบัญชาการกองทัพไทย "สมพงษ์"ปัดถูกส่งชิงนายกฯ โยนที่ประชุม พปช.ตัดสิน "ยงยุทธ"รับเป็นคนกลางถก"สมัคร"แก้ปมการเมือง เผยไม่แน่ใจได้เจอหรือไม่ "เลี้ยบ"เผยไม่มีโอกาสคุยกับ"หมัก" ยังแทงกั๊กนั่งนายกฯ ไม่สนจับมือปชป. อ้างจำเป็นต้องตรวจสอบถ่วงดุล "ยงยุทธ"นัดส.ส.พปช.ถกโหวตนายกฯ ปัดเป็น"งูเห่า
P { margin: 0px; }
ครม.นัดประชุมด่วน 2 ทุ่ม คืนนี้ที่กองบัญชาการกองทัพไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะรัฐมนตรีรักษาการ(ครม.รก.)นัดประชุม ครม.ในเวลา 20.00 น. วันที่ 10 กันยายน ที่กองบัญชาการกองทัพไทย

"สมพงษ์"ปัดถูกส่งชิงนายกฯ โยนที่ประชุม พปช.ตัดสิน

นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน กล่าวเมื่อวันที่ 10 ก.ย.ถึงกรณีที่มีข่าวว่าจะได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ว่า ขอบคุณที่ให้เกียรติ แต่คงไม่ใช่ตน อาจเป็นความเข้าใจผิด เพราะชื่อขึ้นต้นด้วย "ส." เหมือนกัน ส่วนการที่พรรคร่วมรัฐบาลจะเสนอชื่อบุคคลมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่นั้น พรรคร่วมรัฐบาลยินดีที่จะดำเนินการทางการเมืองเหมือนเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ที่เป็นคนที่มีหลักการ ซึ่งนายบรรหารก็เห็นว่า เมื่อพรรคพลังประชาชนมี ส.ส.มากที่สุด ดังนั้น ต้องให้พรรคพลังประชาชนดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งนายบรรหารยินดีเข้าร่วมเหมือนเดิม ทั้งนี้ จากการพบปะกับนายบรรหารเมื่อเช้าวันที่ 10 ก.ย. ยังไม่ได้มีการเสนอชื่อบุคคลอื่นที่ไม่ใช่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี แต่อย่างใด

เมื่อถามว่า สมาชิกพรรคพลังประชาชนยังยืนยันว่าจะเสนอชื่อนายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหรือไม่ นายสมพงษ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ก็มีการพูดกันอยู่แล้ว ส่วนที่มีข่าวว่ามีสมาชิกบางคนไม่ยอมรับนายสมัครนั้น ยังไม่ได้มีการพูดคุยกันเป็นเรื่องราว ซึ่งภายในวันนี้หรือวันที่ 11 ก.ย.จะมีการพูดคุยกันแน่นอน

เมื่อถามต่อว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชนจะเสนอชื่อนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นนายกรัฐมนตรี นายสมพงษ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับตัวนายบรรหาร แต่ตนไม่ทราบ เพราะต้องอยู่กับที่ประชุมพรรคพลังประชาชน

"ในเรื่องนี้ คิดว่าการพิจารณาใดๆ ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งมองดูแล้วว่าไม่ว่าใครจะมาใครจะไป กลุ่มพันธมิตรฯ ก็คงไม่เอาอยู่แล้ว ทั้งนี้ พรรคพลังประชาชนคงใช้เวลา 1-2 วันในการตัดสินใจเอาบุคคลที่มีความเหมาะสม แต่ในใจของตนคิดว่าผู้ที่มีความเหมาะสมคือนายสมัคร แต่จะเป็นนายสมัครหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับที่ประชุมพรรคพลังประชาชน" นายสมพงษ์ กล่าว

เมื่อถามว่า พรรคพลังประชาชนต้องเสียสละบางอย่างแล้วหรือไม่ เพื่อให้ประเทศเดินต่อไปได้ นายสมพงษ์ กล่าวว่า พรรคพลังประชาชนเสียสละมาตลอดเวลา ส่วนแนวคิดการตั้งรัฐบาลแห่งชาตินั้น ก็มีการพูดกันในเรื่องดังกล่าว แต่ต้องมีการคุยกันในรายละเอียด ทั้งนี้เราไม่ได้ปฏิเสธเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ อย่างไรก็ตาม พรรคพลังประชาชนได้มีการเก็บข้อมูลมากมายจากกระแสและงานต่างๆ โดยเราเชื่อว่าภายใน 1-2 วันนี้ เราจะสามารถสรุปได้

"ยงยุทธ"รับเป็นคนกลางถก"หมัก" เผยไม่แน่ใจได้เจอหรือไม่
นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตรองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน กล่าวภายหลังเป็นแกนนำประชุมร่วมกับ ส.ส.ของพรรคพลังประชาชน ว่า ที่ประชุมวันนี้ ได้มีมติให้ตนพูดคุยกับ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชนและอดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อนำความเห็นของสมาชิก ส.ส.ให้นายสมัครรับรู้ ว่ามีรายละเอียดอย่างไร อย่างไรก็ตาม ไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด และยังไม่มั่นใจว่านายสมัคร จะให้เข้าพบหรือไม่ แต่ก็จะพยายามดำเนินการโดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ตามนายยงยุทธ ไม่ตอบคำถามผู้สื่อข่าวว่าที่ประชุมวันนี้ยังจะเลือกให้นายสมัครเป็นนายกฯ อีกครั้งหรือไม่ กล่าวแต่เพียงว่าขอพูดคุยกับนายสมัครก่อน อีกทั้งเห็นว่านายสมัครเป็นคนดี เป็นคนตรงไปตรงมา และทำงานเพื่อพรรค ซึ่งเกียรติยศศักดิ์ศรีของนายสมัครที่ถูกทำลายไป สมาชิกก็ได้ร่วมกันคิดว่าจะช่วยปกป้องได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม จุดยืนของพรรคในวันนี้ยังสนับสนุนคนในพรรคพลังประชาชนเป็นนายกรัฐมนตรี
ส่วนที่ ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน แถลงวานนี้ (9 ก.ย.) ว่า พรรคพลังประชาชนจะมีมติสนับสนุนเลือกนายสมัครเป็นนายกฯ นั้น นายยงยุทธ กล่าวว่า ในการประชุมเมื่อวานนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมน้อยถือว่ายังไม่เพียงพอ จึงทำให้ต้องมีการพูดคุยกันเพิ่มเติม ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ต้องมีการหารือกับนายสมัครอีกครั้ง และยังกล่าวถึงกระแสข่าว ส.ส.ในภาคเหนือ สนับสนุนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี เป็นนายกรัฐมนตรี ว่า เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของสมาชิกบางคนเท่านั้น

"เลี้ยบ"เผยไม่มีโอกาสคุยกับ"หมัก" ยังแทงกั๊กนั่งนายกฯ

เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 10 ก.ย. ที่กระทรวงการคลัง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชาชน (พปช.) แถลงภายหลังหารือร่วมกับนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า สมาชิกพรรคพลังประชาชนบางส่วนไม่ต้องการเสนอชื่อ นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ว่า ขณะนี้ความคิดเห็นยังหลากหลาย ดังนั้น คงต้องรอผลการประชุมหารือร่วมกันในวันที่ 11 กันยายน 2551 ก่อน และเมื่อพรรคมีมติออกมาอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามนั้น เช่นเดียวกับกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ไม่ต้องการให้นายสมัครกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก พร้อมทั้ง เสนอชื่อนายบรรหาร ตนมองว่าเป็นหนึ่งในความคิดเห็นของประชาชนซึ่งเราต้องหาข้อมูลให้ได้มากที่สุด จากนั้น จะนำมาประมวลความเห็นให้ได้ทิศทางต่อไป แต่ยืนยันว่านายกรัฐมนตรีจะต้องมาจากพรรคพลังประชาชนที่มีเสียงข้างมาก

เมื่อถามว่า หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้นายสมัครพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีโอกาสหารือกับนายสมัครหรือไม่ นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ถึงขณะนี้ยังไม่มีโอกาสได้พูดคุยกับนายสมัครเลย ส่วนกรณีที่หากมีผู้เสนอชื่อตนเอง ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปนั้น เป็นเรื่องที่ยังมาไม่ถึง และเป็นการถามที่ข้ามขั้นเกินไป อย่างไรก็ตาม พรรคพลังประชาชนจะประมวลเรื่องมาประกอบก่อนตัดสินใจเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี
พปช.ไม่สนจับมือปชป. อ้างจำเป็นต้องตรวจสอบถ่วงดุล

เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 10 ก.ย.ที่กระทรวงการคลัง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชาชน (พปช.) แถลงภายหลังหารือร่วมกับนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ถึงกรณีที่นักวิชาการเสนอให้พรรคพลังประชาชนและพรรคประชาธิปัตย์ จับมือกันจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ เพื่อแก้ไขวิกฤตของประเทศ ว่า เป็นสิ่งที่ต้องรับฟัง แต่จำเป็นต้องนำมาวิเคราะห์ถึงข้อดีข้อเสียด้วย โดยเฉพาะเรื่องการต้องถ่วงดุลและตรวจสอบกันและกัน

นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ส่วนกรณีที่มีสมาชิกพรรคพลังประชาชนออกมาแถลงว่า พรรคพลังประชาชนมีมติเตรียมเสนอชื่อนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรค เป็นนายกรัฐมนตรีรอบสองนั้น ขอชี้แจงว่าเป็นเพียงแค่การหารือประชุมสมาชิกพรรคเพื่อเตรียมประชุมสภาเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่มติของพรรคพรรคพลังประชาชน โดยมติพรรคต้องรอการหารือวันที่ 11 กันยายนนี้ แต่คนที่จะมีสิทธิ์ก่อนคือนายสมัคร

"เชาวรินทร์"ระบุ"หมัก"ไม่เหมาะสมเป็นนายกฯ อีก
ร.ต.ท.เชาวรินทร์ ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.ระบบสัดส่วน พรรคพลังประชาชน กล่าวเมื่อวันที่ 10 ก.ย.ว่า นายสมัคร สุนทรเวช ไม่มีความเหมาะสมที่จะกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะนายสมัครยังมีคดีความที่ยังพิจารณาไม่เสร็จสิ้นอีกหลายคดี ซึ่งอาจกลายเป็นปัญหาได้ในภายหลัง นอกจากนี้ ยังมีบุคคลอื่นๆ ที่เหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นบุคคลจากพรรคพลังประชาชนหรือพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ก็ตาม

ด้านนายพีรพันธุ์ พาลุสุ รองเลขาธิการพรรคพลังประชาชนและกลุ่มอีสานพัฒนา กล่าวว่า มติของพรรคไม่ควรมีความรวบรัดที่จะเสนอนายสมัครกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก คิดว่าควรมีการหารือร่วมกับอย่างเป็นทางการอีกครั้ง รวมทั้งควรเปิดโอกาสในพรรคร่วมรัฐบาลเข้ามาหารือด้วย โดยส่วนตัวตนต้องการสนับสนุนนายสมชาย วงค์สวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นนายกรัฐมนตรี "สมชาย"ยัน"เติ้ง"หนุนพปช.เดินสายพบ หน.5พรรคร่วม

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน (พปช.) กล่าวเมื่อวันที่ 10 ก.ย. ว่า นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ยืนยันสนับสนุนพรรค พปช.เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลต่อไปจากนี้จะเดินทางไปพบนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช และพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ จนครบ 5 พรรคการเมือง

"วันนี้เท่าที่คุยคุณบรรหาร ยืนยันพรรคชาติไทยเห็นชอบที่จะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชนต่อไป" นายสมชาย กล่าวภายหลังเข้าหารือกับนายบรรหาร ที่ทำการพรรคชาติไทยเมื่อช่วงเช้า

"เลี้ยบ"เผยหลังถก"เติ้ง" ยันนายกฯ ต้องมาจากพปช.

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชาชน กล่าวเมื่อวันที่ 10 ก.ย.ภายหลังการหารือกับนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ว่า นายกรัฐมนตรีคนต่อไปต้องมาจากพรรคพลังประชาชนแน่นอน และนายบรรหารยังต้องการให้พรรคที่มีเสียงข้างมากเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล

"ยงยุทธ"นัดส.ส.พปช.ถกโหวตนายกฯ ปัดเป็น"งูเห่า"

นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน กล่าวเมื่อวันที่ 10 ก.ย.ถึงกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรจะโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ว่า การหารือของ ส.ส.พรรคพลังประชาชนในวันที่ 10 ก.ย.นี้ ซึ่งมีส.ส.ภาคเหนือ ภาคกลางและภาคอีสานร่วมหารือนั้น ยืนยันว่าไม่ได้เป็นกลุ่มงูเห่า ที่หวังไปรวมกับพรรคประชาธิปัตย์ แต่เป็นการหารือเพื่อหาทางออกของปัญหา ซึ่งเป็นใหญ่ระดับประเทศ

ส่วนที่จะสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นนายกรัฐมนตรี หรือไม่นั้น นายยงยุทธ กล่าวว่า คงจะหารือกันในที่ประชุมวันนี้ก่อนนำเสนอความคิดเห็นต่อที่ประชุมพรรค

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส.ส.พลังประชาชนที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้มีหลายคน เช่น นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม แกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา พล.ต.ศรชัย มนตริวัต ส.ส.กาญจนบุรี และนายการุณ โหสกุล ส.ส. กทม.

"สมชาย"รับพบ"เติ้ง" หวังกระชับความสัมพันธ์พรรคร่วม
เมื่อเวลา 11.00 น. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ให้สัมภาษณ์หลังเดินทางมายังพรรคชาติไทย เพื่อพบนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย พร้อมด้วยนายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เลขาธิการพรรคพลังประชาชน และนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ว่า ขอไปคุยกับหัวหน้าพรรคชาติไทยก่อน ซึ่งพรรคพลังประชาชนได้ตั้งตน 3 คนมาพูดคุยกับพรรคชาติไทย ซึ่งจุดมุ่งหมายก็เป็นที่ทราบกันอยู่เพราะเป็นเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเหมือนกัน และที่มาวันนี้เพื่อกระชับความสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาลด้วย
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ที่มาหารือเพื่อขอให้นายบรรหาร สนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช นั่งนายกรัฐมนตรีหรือไม่ นายสมชายกล่าวว่า ยังไม่ได้คุยกัน ไว้คุยแล้วจะมาบอก
เมื่อถามถึงกรณีที่กลุ่มอีสานพัฒนาออกมาบอกว่าที่พรรคมีมติหนุนนายสมัครนั้นไม่ใช่มติของพรรค นายสมชาย กล่าวว่า ยังไม่มีการหารือกับลูกพรรคพลังประชาชน เพราะเพิ่งกลับมาจากจังหวัดอุดรธานี

"เลี้ยบ"นำถก"เติ้ง-พรรคร่วม"หานายกฯใหม่ แถลงบ่าย2นพ.สุรพงษ์ สืบวงษ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะเลขาธิการ พรรคพลังประชาชน (พปช.) เปิดเผยว่า ตนเตรียมตัวเดินทางไปพบนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย และพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อหารือถึงทิศทางการทำงานต่อไปของพรรคร่วมรัฐบาล รวมถึงการสรรหานายกรัฐมนตรีคนใหม่ แทนนายสมัคร สุนทรเวช ที่ถุกศาลตัดสินให้สิ้นสุดสภาพการเป็นนายกรัฐมนตรีไปเมื่อวันที่ 9 ก.ย.
ทั้งนี้ เลขาธิการ พรรคพลังประชาชน ระบุว่า ภายหลังจากเสร็จสิ้นการหารือร่วมกันของพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว จะแถลงข่าวรายละอียดให้ทราบอีกครั้งในเวลา 14.00 น. ที่กระทรวงการคลัง

"เลี้ยบ"เตรียมเข้าพบ"เติ้ง"ที่พรรคชาติไทยวันนี้

นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชาชน(พปช.)กล่าวว่า จะไปเข้าพบนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ในเวลา 11.00 น.วันนี้ เพื่อหารือ ก่อนที่จะมีการเลือกนายกรัฐมนตรีในรัฐสภาในวันศุกร์นี้
"ผมจะไปคุยกับท่านบรรหาร เวลา 11 โมงวันนี้ที่พรรคชาติไทย" เลขาธิการ พปช.กล่าวสั้น ๆ เมื่อถามว่าพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 6 พรรคยังเหนียวแน่นกันอยู่หรือไม่ หลังวานนี้(9 กันยายน) ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรี ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ กรณีเป็นพิธีกรดำเนินรายการ"ชิมไปบ่นไป" และ"ยกโขยงหกโมงเช้า"ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์
"อีสานพัฒนา"อ้างผลประชุมพปช.เลือก"หมัก" ไม่ใช่มติพรรค

นายไพจิตร ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคพลังประชาชน แกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา กล่าวว่า ผลการประชุมพรรคเมื่อวานนี้ ยังไม่ถือเป็นมติของพรรค เพราะเป็นเพียงการประชุมกลุ่มย่อยเท่านั้น โดยจะมีการประชุมอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ก่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันศุกร์นี้(12 ก.ย.) ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการพูดคุยกับพรรคร่วมรัฐบาลมาโดยตลอด และขอขอบคุณที่พรรคร่วมรัฐบาลยังให้การสนับสนุนพรรคพลังประชาชนอยู่
นายไพจิตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ยอมรับว่าทางกลุ่มได้มีการพูดคุยกับพรรคประชาธิปัตย์บ้างแล้ว แต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะตัดสินใจไปร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อจัดตั้งรัฐบาล เพราะเสียงยังก้ำกึ่ง ซึ่ง ส.ส. ก็ต้องถามประชาชนในพื้นที่ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เห็นว่า นายกรัฐมนตรีคนใหม่จะต้องลดความขัดแย้งในสังคมได้ เพื่อหาทางออกให้กับบ้านเมือง แต่หากเป็นนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีก็คิดว่ายังมีช่องทางแก้ไขที่จะหาทางออกได้

"ชัย" นัดเปิดสภา12ก.ย.โหวตนายกฯ

เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 9 กันยายน นายวิทยา บูรณศิริ ประธานวิปรัฐบาลเดินทางเข้าพบนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่รัฐสภาเพื่อหารือขอเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิเศษ เพื่อเลือกนายกฯ โดยใช้เวลาหารือประมาณ 10 นาที จากนั้น นายวิทยาเข้าพบนายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

จนกระทั่งเวลา 18.15 น. นายพิทูรนำส่งโทรสารคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญไปมอบให้กับนายชัย ในห้องทำงาน จากนั้น นายชัยให้สัมภาษณ์ว่า นัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อโหวตเลือกนายกฯในวันที่ 12 กันยายน เวลา 09.30 น. โดยค่ำวันนี้จะส่งหนังสือเชิญ ส.ส.นัดประชุมตามที่ข้อบังคับการประชุมสภากำหนด ว่า ต้องให้สมาชิกทราบล่วงหน้า 3 วัน ส่วนใครจะเป็นนายกฯก็ต้องแล้วแต่สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เลือก

มติพปช.อุ้ม"สมัคร"นั่งนายกฯต่อ

ความเคลื่อนไหวทางการเมือง หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า นายสมัคร สุนทรเวช ขาดคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรี ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทำให้ต้องจับทิศทางความเคลื่อนไหวทางการเมืองในเรื่องต่างๆ รวมทั้งการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในวันที่ 12 กันยายนนี้

เมื่อเวลา 16.40 น. ที่ทำการพรรคพลังประชาชน (พปช.) อาคารไอเอฟซีที ถนนเพชรบุรี ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรค พปช. แถลงภายหลังการประชุมพรรค พปช. ว่า ที่ประชุม มีมติเป็นเอกฉันท์ที่จะโหวตเลือกนายสมัคร กลับเข้าดำรงตำแหน่งนายกฯอีกครั้ง เนื่องจากเป็นคนที่เหมาะสมที่สุด ที่ผ่านมานายสมัครเสียสละให้พรรคมามาก และสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความผิดร้ายแรง แต่เป็นความเข้าใจข้อกฎหมายคลาดเคลื่อน และไม่มีบทบัญญัติใดห้ามกลับมารับตำแหน่ง อีกทั้งนายสมัครยังเป็น ส.ส.สัดส่วน พปช. ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะกลับมาเป็นายกฯ

"พวกผมจะไม่ยอมจำนนต่อคนที่มีเจตนาร้ายต่อพรรคพลังประชาชน พวกผมจะต่อสู้ตามวิถีทางกฎหมายและเชื่อว่ามีคนจำนวนมหาศาลสนับสนุนให้รัฐบาลสู้ต่อไป" ร.ท.กุเทพกล่าว

ขณะที่นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา พปช.และรองโฆษกพรรค กล่าวว่า พปช.ต้องกอดคอกันไว้เพื่อพิสูจน์ให้ระบบตุลาการเห็นว่าข้อกล่าวหาเหล่านี้ทำอะไรพวกเราไม่ได้ การตัดสินเช่นนี้น่าอายชาวโลกว่านายกฯไทยต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะจัดรายการอาหาร

พปช.โห่ศาลรธน.ไม่เป็นธรรม

ข่าวแจ้งว่า การประชุมพรรค พปช. เป็นไปอย่างเงียบเหงา เนื่องจากนายสมัคร รวมถึงรัฐมนตรี พปช.ไม่ได้ร่วมประชุมด้วย ทั้งนี้ มีนายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล รองหัวหน้าพรรคทำหน้าที่ประธานในการประชุม ซึ่งระหว่างการประชุมมีการถ่ายทอดผลการวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ ผ่านจอโปรเจ็คเตอร์ขนาดใหญ่ และทันทีที่ตุลาการรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยเสร็จสิ้น ส.ส.พปช.ต่างโห่ร้องแสดงความไม่พอใจ โดยมี ส.ส.ของพรรคคนหนึ่งตะโกนว่าเราไม่ได้รับความเป็นธรรม เป็นไปตามที่ธงเขาตั้งไว้

จากนั้นที่ประชุมให้ประธานที่ประชุมขอมติพรรคเพื่อสนับสนุนนายสมัคร เป็นนายกฯต่อไป โดย ส.ส.เกือบทั้งหมดยกมือสนับสนุน และให้เร่งเปิดประชุมสภาเพื่อเลือกนายกฯโดยเร็ว เพราะเกรงว่าจะมีปัญหาตามมา ที่ประชุมจึงสรุปว่าจะเรียกประชุม ส.ส.พรรคเป็นการด่วนภายในวันที่ 10-11 กันยายนก่อนที่จะโหวตเลือกนายกฯ คนใหม่ในวันที่ 12 กันยายน
ข่าวแจ้งว่า

อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่มีการเสนอชื่อนายสมัคร มี ส.ส.บางส่วนตั้งข้อสังเกตว่าการเลือกนายสมัครกลับเข้ามาอีกครั้งจะทำให้การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีความรุนแรงมากขึ้น แต่มี ส.ส.บางส่วนตอบโต้ว่าหากกลุ่มพันธมิตรจะนำไปเป็นเงื่อนไขก็ให้ทำไป เพราะเราก็มีกลุ่ม นปช. สนับสนุนอยู่และพร้อมที่จะแสดงพลังเหมือนกัน

เผย"เลี้ยบ"กล่อม 5 พรรคร่วมอยู่หมัด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเสร็จการประชุมพรรค พปช.ช่วง 17.00 น.แล้ว แกนนำ ส.ส.พรรคจำนวนหนึ่ง ได้หารือร่วมกับแกนนำ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน และอดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย (ทรท.) บางคน เพื่อรอคำยืนยันจากแกนนำพรรค พปช. ที่อยู่ระหว่างประสานงานกับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 5 พรรคว่าจะยังร่วมรัฐบาลกับพรรค พปช.ต่อไปหรือไม่ จนกระทั่งเวลาประมาณ 17.30 น. จึงได้รับคำยืนยันจากแกนนำพรรค พปช.ว่า ประสานงานกับแกนนำทั้ง 5 พรรคเรียบร้อยแล้ว

นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รองโฆษก พปช. กล่าวว่า ที่ประชุม ส.ส.พรรค พปช. ได้หารือกันในช่วงเย็นอีกครั้ง โดยได้รับคำยืนยันจาก นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรค พปช. ทางโทรศัพท์ว่าได้ประสานงานกับพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 5 พรรคเรียบร้อยแล้ว โดยมีข้อสรุปร่วมกันว่าจะยังร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลและสนับสนุนนายสมัคร เป็นนายกฯอีกครั้ง

"อีสานพัฒนา" ค้าน "สมัคร" คืนเก้าอี้

รายงานข่าวแจ้งว่า ระหว่างการประชุมพรรค พปช.ที่มีการเสนอให้นายสมัคร เป็นนายกฯอีกครั้งหนึ่งนั้น แต่ส.ส.บางส่วน อาทิ พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา และนายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม หัวหน้ากลุ่มอีสานพัฒนา คัดค้าน โดยเห็นว่าควรหารือกันให้รอบคอบมากกว่านี้ เนื่องจากขณะนี้บ้านเมืองเกิดวิกฤต หากนายสมัคร กลับมาเป็นนายกฯอีกครั้งปัญหาความขัดแย้งอาจทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ยอมรับว่า ตนและนายไพจิต ศรีวรขาน เห็นว่า พปช.จะต้องพิจารณาตัวบุคคลที่จะมาเป็นนายกฯด้วยความรอบคอบ โดยส่วนตัวเห็นว่าผู้บริหารพรรคต้องเปิดใจขอความเห็นจากพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นในพรรคร่วมรัฐบาลได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯได้ เมื่อถามว่ามีการเสนอชื่อนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นนายกฯคนต่อไปหรือไม่ พ.ต.ท.สมชาย กล่าวว่า นายสมพงษ์มีความเหมาะสม เพราะเป็นคนดี ประนีประนอม รับฟังเหตุผลของทุกฝ่าย จากการที่ตนพูดคุยกับส.ส.ในพรรคก็ไม่มีใครขัดข้อง

เตรียม "2ส." สำรองถ้า"สมัคร"ถอดใจ

ด้าน พ.ต.ท.กานต์ เทียนแก้ว รองหัวหน้าพรรค พปช.กล่าวว่า พรรค พปช. และพรรคร่วมรัฐบาลยินดีสนับสนุนนายสมัครเป็นนายกฯต่อไป แต่ถ้านายสมัคร ถอดใจก็สำรองบุคคลของพรรคไว้แล้ว 2-3 คน เป็นชื่อที่ขึ้นต้นด้วยอักษร "ส."

นายสุรสิทธิ์ เจียมวิจักษณ์ ส.ส.เชียงราย พปช. กล่าวว่า หากเลือกนายสมัครเป็นนายกฯอีกรอบจะทำให้ปัญหาไม่จบ ตนเห็นว่าคนที่เหมาะสมต้องเป็นคนที่สามารถลดแรงกดดันได้ และมีความนิ่มนวล ซึ่งคือนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองหัวหน้า พปช. เนื่องจากเคยอยู่ในแวดวงตุลาการ ดังนั้น ย่อมประสานงานให้ปัญหาการเมืองคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีได้ แม้ว่านายสมชาย จะมีภาพใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ตามแต่วันนี้ความสงบสุขของบ้านเมืองเป็นเรื่องสำคัญ

นายวัฒนา เซ่งไพเราะ อดีตผู้สมัคร ส.ส.กทม. พรรค พปช.กล่าวว่า ผลจากการประชุมภาค กทม. มีมติสนับสนุนนายสมัคร เป็นนายกฯต่อไป ทั้งนี้ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย (ทรท.) ได้แจ้งมายังสมาชิกของ กทม.ว่านายสมัครยังมีคุณสมบัติที่จะเป็นนายกฯ ต่อไป

พปช.เหนือดัน "สมชาย-สมพงษ์" สู้

รายงานข่าวอีกกระแสแจ้งว่า ส.ส.กลุ่มอีสานพัฒนา จับมือกับกลุ่ม ส.ส.ภาคเหนือ ที่มีนายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตประธานสภา และนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล อดีตกรรมการบริหารพรรค ทรท. ให้การสนับสนุน ได้เรียก ส.ส.ป็นรายคนไปที่ ชั้น 8 อาคารที่ทำการพรรคไทยรักไทย เพื่อล็อบบี้ให้สนับสนุนนายสมชาย วงศสวัสดิ์ หรือนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นนายกฯ แทนนายสมัคร โดยยื่นเงื่อนไขเป็นผลประโยชน์พิเศษ พร้อมอ้างว่าเป็นกลุ่มสายตรง พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ให้ตัวแทนกลุ่มตัวเองไปตั้งพรรคเพื่อไทยสำรองไว้ เพราะคาดว่า พปช.จะถูกยุบแน่นอน ดังนั้นหากใครที่มีความเห็นเป็นอย่างอื่นก็จะไม่ส่งลงสมัคร ส.ส.ในนามพรรคเพื่อไทย

ข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ 2 กลุ่มนี้เจรจากับแกนนำพรรคชาติไทย เนื่องจากมีความพยายามที่จะสนับสนุนนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นนายกฯด้วย แต่ในที่สุดเมื่อมีมติที่ประชุมพรรคก็เอาตามเสียงส่วนใหญ่ที่สนับสนุนนายสมัคร

"สมพงษ์-สมชาย-เลี้ยบ" ปัดนั่งนายกฯ

ก่อนหน้านี้ ด้านนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกระแสข่าวจะเป็นนายกฯ สำรองว่า "ผมก็ไม่ทราบว่ามาได้อย่างไร สื่อมวลชนไปเขียนกันเอาเอง หรือจะเป็นเพราะชื่อ ส. เหมือนกัน"

ขณะที่ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต่างปฏิเสธข่าวที่ตัวเองเป็นนายกฯสำรอง ว่าไม่เป็นความจริง
นายยืนหยัด ใจสมุทร ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และทีมกฎหมายพรรค พปช. กล่าวว่า เมื่อนายกฯต้องพ้นไป บุคคลที่มาเป็นนายกฯรักษาการ ก็คือ รองนายกฯคนที่ 1 คือนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งรักษาการนายกฯสามารถยุบสภาได้ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดห้ามเอาไว้

จับตาครม.ประชุมนัดพิเศษ2ทุ่มคืนนี้ พปช.ให้"ยงยุทธ"คุย"สมัคร"ถกทางออกการเมือง "เลี้ยบ"เผยไม่มีโอกาสพบ

ครม.นัดประชุมด่วน 2 ทุ่ม คืนนี้ที่กองบัญชาการกองทัพไทย "สมพงษ์"ปัดถูกส่งชิงนายกฯ โยนที่ประชุม พปช.ตัดสิน "ยงยุทธ"รับเป็นคนกลางถก"สมัคร"แก้ปมการเมือง เผยไม่แน่ใจได้เจอหรือไม่ "เลี้ยบ"เผยไม่มีโอกาสคุยกับ"หมัก" ยังแทงกั๊กนั่งนายกฯ ไม่สนจับมือปชป. อ้างจำเป็นต้องตรวจสอบถ่วงดุล "ยงยุทธ"นัดส.ส.พปช.ถกโหวตนายกฯ ปัดเป็น"งูเห่า
P { margin: 0px; }
ครม.นัดประชุมด่วน 2 ทุ่ม คืนนี้ที่กองบัญชาการกองทัพไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะรัฐมนตรีรักษาการ(ครม.รก.)นัดประชุม ครม.ในเวลา 20.00 น. วันที่ 10 กันยายน ที่กองบัญชาการกองทัพไทย

"สมพงษ์"ปัดถูกส่งชิงนายกฯ โยนที่ประชุม พปช.ตัดสิน

นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน กล่าวเมื่อวันที่ 10 ก.ย.ถึงกรณีที่มีข่าวว่าจะได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ว่า ขอบคุณที่ให้เกียรติ แต่คงไม่ใช่ตน อาจเป็นความเข้าใจผิด เพราะชื่อขึ้นต้นด้วย "ส." เหมือนกัน ส่วนการที่พรรคร่วมรัฐบาลจะเสนอชื่อบุคคลมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่นั้น พรรคร่วมรัฐบาลยินดีที่จะดำเนินการทางการเมืองเหมือนเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ที่เป็นคนที่มีหลักการ ซึ่งนายบรรหารก็เห็นว่า เมื่อพรรคพลังประชาชนมี ส.ส.มากที่สุด ดังนั้น ต้องให้พรรคพลังประชาชนดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งนายบรรหารยินดีเข้าร่วมเหมือนเดิม ทั้งนี้ จากการพบปะกับนายบรรหารเมื่อเช้าวันที่ 10 ก.ย. ยังไม่ได้มีการเสนอชื่อบุคคลอื่นที่ไม่ใช่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี แต่อย่างใด

เมื่อถามว่า สมาชิกพรรคพลังประชาชนยังยืนยันว่าจะเสนอชื่อนายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหรือไม่ นายสมพงษ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ก็มีการพูดกันอยู่แล้ว ส่วนที่มีข่าวว่ามีสมาชิกบางคนไม่ยอมรับนายสมัครนั้น ยังไม่ได้มีการพูดคุยกันเป็นเรื่องราว ซึ่งภายในวันนี้หรือวันที่ 11 ก.ย.จะมีการพูดคุยกันแน่นอน

เมื่อถามต่อว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชนจะเสนอชื่อนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นนายกรัฐมนตรี นายสมพงษ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับตัวนายบรรหาร แต่ตนไม่ทราบ เพราะต้องอยู่กับที่ประชุมพรรคพลังประชาชน

"ในเรื่องนี้ คิดว่าการพิจารณาใดๆ ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งมองดูแล้วว่าไม่ว่าใครจะมาใครจะไป กลุ่มพันธมิตรฯ ก็คงไม่เอาอยู่แล้ว ทั้งนี้ พรรคพลังประชาชนคงใช้เวลา 1-2 วันในการตัดสินใจเอาบุคคลที่มีความเหมาะสม แต่ในใจของตนคิดว่าผู้ที่มีความเหมาะสมคือนายสมัคร แต่จะเป็นนายสมัครหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับที่ประชุมพรรคพลังประชาชน" นายสมพงษ์ กล่าว

เมื่อถามว่า พรรคพลังประชาชนต้องเสียสละบางอย่างแล้วหรือไม่ เพื่อให้ประเทศเดินต่อไปได้ นายสมพงษ์ กล่าวว่า พรรคพลังประชาชนเสียสละมาตลอดเวลา ส่วนแนวคิดการตั้งรัฐบาลแห่งชาตินั้น ก็มีการพูดกันในเรื่องดังกล่าว แต่ต้องมีการคุยกันในรายละเอียด ทั้งนี้เราไม่ได้ปฏิเสธเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ อย่างไรก็ตาม พรรคพลังประชาชนได้มีการเก็บข้อมูลมากมายจากกระแสและงานต่างๆ โดยเราเชื่อว่าภายใน 1-2 วันนี้ เราจะสามารถสรุปได้

"ยงยุทธ"รับเป็นคนกลางถก"หมัก" เผยไม่แน่ใจได้เจอหรือไม่
นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตรองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน กล่าวภายหลังเป็นแกนนำประชุมร่วมกับ ส.ส.ของพรรคพลังประชาชน ว่า ที่ประชุมวันนี้ ได้มีมติให้ตนพูดคุยกับ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชนและอดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อนำความเห็นของสมาชิก ส.ส.ให้นายสมัครรับรู้ ว่ามีรายละเอียดอย่างไร อย่างไรก็ตาม ไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด และยังไม่มั่นใจว่านายสมัคร จะให้เข้าพบหรือไม่ แต่ก็จะพยายามดำเนินการโดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ตามนายยงยุทธ ไม่ตอบคำถามผู้สื่อข่าวว่าที่ประชุมวันนี้ยังจะเลือกให้นายสมัครเป็นนายกฯ อีกครั้งหรือไม่ กล่าวแต่เพียงว่าขอพูดคุยกับนายสมัครก่อน อีกทั้งเห็นว่านายสมัครเป็นคนดี เป็นคนตรงไปตรงมา และทำงานเพื่อพรรค ซึ่งเกียรติยศศักดิ์ศรีของนายสมัครที่ถูกทำลายไป สมาชิกก็ได้ร่วมกันคิดว่าจะช่วยปกป้องได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม จุดยืนของพรรคในวันนี้ยังสนับสนุนคนในพรรคพลังประชาชนเป็นนายกรัฐมนตรี
ส่วนที่ ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน แถลงวานนี้ (9 ก.ย.) ว่า พรรคพลังประชาชนจะมีมติสนับสนุนเลือกนายสมัครเป็นนายกฯ นั้น นายยงยุทธ กล่าวว่า ในการประชุมเมื่อวานนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมน้อยถือว่ายังไม่เพียงพอ จึงทำให้ต้องมีการพูดคุยกันเพิ่มเติม ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ต้องมีการหารือกับนายสมัครอีกครั้ง และยังกล่าวถึงกระแสข่าว ส.ส.ในภาคเหนือ สนับสนุนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี เป็นนายกรัฐมนตรี ว่า เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของสมาชิกบางคนเท่านั้น

"เลี้ยบ"เผยไม่มีโอกาสคุยกับ"หมัก" ยังแทงกั๊กนั่งนายกฯ

เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 10 ก.ย. ที่กระทรวงการคลัง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชาชน (พปช.) แถลงภายหลังหารือร่วมกับนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า สมาชิกพรรคพลังประชาชนบางส่วนไม่ต้องการเสนอชื่อ นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ว่า ขณะนี้ความคิดเห็นยังหลากหลาย ดังนั้น คงต้องรอผลการประชุมหารือร่วมกันในวันที่ 11 กันยายน 2551 ก่อน และเมื่อพรรคมีมติออกมาอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามนั้น เช่นเดียวกับกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ไม่ต้องการให้นายสมัครกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก พร้อมทั้ง เสนอชื่อนายบรรหาร ตนมองว่าเป็นหนึ่งในความคิดเห็นของประชาชนซึ่งเราต้องหาข้อมูลให้ได้มากที่สุด จากนั้น จะนำมาประมวลความเห็นให้ได้ทิศทางต่อไป แต่ยืนยันว่านายกรัฐมนตรีจะต้องมาจากพรรคพลังประชาชนที่มีเสียงข้างมาก

เมื่อถามว่า หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้นายสมัครพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีโอกาสหารือกับนายสมัครหรือไม่ นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ถึงขณะนี้ยังไม่มีโอกาสได้พูดคุยกับนายสมัครเลย ส่วนกรณีที่หากมีผู้เสนอชื่อตนเอง ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปนั้น เป็นเรื่องที่ยังมาไม่ถึง และเป็นการถามที่ข้ามขั้นเกินไป อย่างไรก็ตาม พรรคพลังประชาชนจะประมวลเรื่องมาประกอบก่อนตัดสินใจเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี
พปช.ไม่สนจับมือปชป. อ้างจำเป็นต้องตรวจสอบถ่วงดุล

เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 10 ก.ย.ที่กระทรวงการคลัง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชาชน (พปช.) แถลงภายหลังหารือร่วมกับนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ถึงกรณีที่นักวิชาการเสนอให้พรรคพลังประชาชนและพรรคประชาธิปัตย์ จับมือกันจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ เพื่อแก้ไขวิกฤตของประเทศ ว่า เป็นสิ่งที่ต้องรับฟัง แต่จำเป็นต้องนำมาวิเคราะห์ถึงข้อดีข้อเสียด้วย โดยเฉพาะเรื่องการต้องถ่วงดุลและตรวจสอบกันและกัน

นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ส่วนกรณีที่มีสมาชิกพรรคพลังประชาชนออกมาแถลงว่า พรรคพลังประชาชนมีมติเตรียมเสนอชื่อนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรค เป็นนายกรัฐมนตรีรอบสองนั้น ขอชี้แจงว่าเป็นเพียงแค่การหารือประชุมสมาชิกพรรคเพื่อเตรียมประชุมสภาเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่มติของพรรคพรรคพลังประชาชน โดยมติพรรคต้องรอการหารือวันที่ 11 กันยายนนี้ แต่คนที่จะมีสิทธิ์ก่อนคือนายสมัคร

"เชาวรินทร์"ระบุ"หมัก"ไม่เหมาะสมเป็นนายกฯ อีก
ร.ต.ท.เชาวรินทร์ ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.ระบบสัดส่วน พรรคพลังประชาชน กล่าวเมื่อวันที่ 10 ก.ย.ว่า นายสมัคร สุนทรเวช ไม่มีความเหมาะสมที่จะกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะนายสมัครยังมีคดีความที่ยังพิจารณาไม่เสร็จสิ้นอีกหลายคดี ซึ่งอาจกลายเป็นปัญหาได้ในภายหลัง นอกจากนี้ ยังมีบุคคลอื่นๆ ที่เหมาะสมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นบุคคลจากพรรคพลังประชาชนหรือพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ก็ตาม

ด้านนายพีรพันธุ์ พาลุสุ รองเลขาธิการพรรคพลังประชาชนและกลุ่มอีสานพัฒนา กล่าวว่า มติของพรรคไม่ควรมีความรวบรัดที่จะเสนอนายสมัครกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก คิดว่าควรมีการหารือร่วมกับอย่างเป็นทางการอีกครั้ง รวมทั้งควรเปิดโอกาสในพรรคร่วมรัฐบาลเข้ามาหารือด้วย โดยส่วนตัวตนต้องการสนับสนุนนายสมชาย วงค์สวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นนายกรัฐมนตรี "สมชาย"ยัน"เติ้ง"หนุนพปช.เดินสายพบ หน.5พรรคร่วม

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน (พปช.) กล่าวเมื่อวันที่ 10 ก.ย. ว่า นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ยืนยันสนับสนุนพรรค พปช.เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลต่อไปจากนี้จะเดินทางไปพบนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช และพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ จนครบ 5 พรรคการเมือง

"วันนี้เท่าที่คุยคุณบรรหาร ยืนยันพรรคชาติไทยเห็นชอบที่จะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชนต่อไป" นายสมชาย กล่าวภายหลังเข้าหารือกับนายบรรหาร ที่ทำการพรรคชาติไทยเมื่อช่วงเช้า

"เลี้ยบ"เผยหลังถก"เติ้ง" ยันนายกฯ ต้องมาจากพปช.

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชาชน กล่าวเมื่อวันที่ 10 ก.ย.ภายหลังการหารือกับนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ว่า นายกรัฐมนตรีคนต่อไปต้องมาจากพรรคพลังประชาชนแน่นอน และนายบรรหารยังต้องการให้พรรคที่มีเสียงข้างมากเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล

"ยงยุทธ"นัดส.ส.พปช.ถกโหวตนายกฯ ปัดเป็น"งูเห่า"

นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน กล่าวเมื่อวันที่ 10 ก.ย.ถึงกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรจะโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ว่า การหารือของ ส.ส.พรรคพลังประชาชนในวันที่ 10 ก.ย.นี้ ซึ่งมีส.ส.ภาคเหนือ ภาคกลางและภาคอีสานร่วมหารือนั้น ยืนยันว่าไม่ได้เป็นกลุ่มงูเห่า ที่หวังไปรวมกับพรรคประชาธิปัตย์ แต่เป็นการหารือเพื่อหาทางออกของปัญหา ซึ่งเป็นใหญ่ระดับประเทศ

ส่วนที่จะสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นนายกรัฐมนตรี หรือไม่นั้น นายยงยุทธ กล่าวว่า คงจะหารือกันในที่ประชุมวันนี้ก่อนนำเสนอความคิดเห็นต่อที่ประชุมพรรค

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส.ส.พลังประชาชนที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้มีหลายคน เช่น นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม แกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา พล.ต.ศรชัย มนตริวัต ส.ส.กาญจนบุรี และนายการุณ โหสกุล ส.ส. กทม.

"สมชาย"รับพบ"เติ้ง" หวังกระชับความสัมพันธ์พรรคร่วม
เมื่อเวลา 11.00 น. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ให้สัมภาษณ์หลังเดินทางมายังพรรคชาติไทย เพื่อพบนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย พร้อมด้วยนายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เลขาธิการพรรคพลังประชาชน และนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ว่า ขอไปคุยกับหัวหน้าพรรคชาติไทยก่อน ซึ่งพรรคพลังประชาชนได้ตั้งตน 3 คนมาพูดคุยกับพรรคชาติไทย ซึ่งจุดมุ่งหมายก็เป็นที่ทราบกันอยู่เพราะเป็นเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเหมือนกัน และที่มาวันนี้เพื่อกระชับความสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาลด้วย
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ที่มาหารือเพื่อขอให้นายบรรหาร สนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช นั่งนายกรัฐมนตรีหรือไม่ นายสมชายกล่าวว่า ยังไม่ได้คุยกัน ไว้คุยแล้วจะมาบอก
เมื่อถามถึงกรณีที่กลุ่มอีสานพัฒนาออกมาบอกว่าที่พรรคมีมติหนุนนายสมัครนั้นไม่ใช่มติของพรรค นายสมชาย กล่าวว่า ยังไม่มีการหารือกับลูกพรรคพลังประชาชน เพราะเพิ่งกลับมาจากจังหวัดอุดรธานี

"เลี้ยบ"นำถก"เติ้ง-พรรคร่วม"หานายกฯใหม่ แถลงบ่าย2นพ.สุรพงษ์ สืบวงษ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะเลขาธิการ พรรคพลังประชาชน (พปช.) เปิดเผยว่า ตนเตรียมตัวเดินทางไปพบนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย และพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อหารือถึงทิศทางการทำงานต่อไปของพรรคร่วมรัฐบาล รวมถึงการสรรหานายกรัฐมนตรีคนใหม่ แทนนายสมัคร สุนทรเวช ที่ถุกศาลตัดสินให้สิ้นสุดสภาพการเป็นนายกรัฐมนตรีไปเมื่อวันที่ 9 ก.ย.
ทั้งนี้ เลขาธิการ พรรคพลังประชาชน ระบุว่า ภายหลังจากเสร็จสิ้นการหารือร่วมกันของพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว จะแถลงข่าวรายละอียดให้ทราบอีกครั้งในเวลา 14.00 น. ที่กระทรวงการคลัง

"เลี้ยบ"เตรียมเข้าพบ"เติ้ง"ที่พรรคชาติไทยวันนี้

นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชาชน(พปช.)กล่าวว่า จะไปเข้าพบนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ในเวลา 11.00 น.วันนี้ เพื่อหารือ ก่อนที่จะมีการเลือกนายกรัฐมนตรีในรัฐสภาในวันศุกร์นี้
"ผมจะไปคุยกับท่านบรรหาร เวลา 11 โมงวันนี้ที่พรรคชาติไทย" เลขาธิการ พปช.กล่าวสั้น ๆ เมื่อถามว่าพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 6 พรรคยังเหนียวแน่นกันอยู่หรือไม่ หลังวานนี้(9 กันยายน) ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรี ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ กรณีเป็นพิธีกรดำเนินรายการ"ชิมไปบ่นไป" และ"ยกโขยงหกโมงเช้า"ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์
"อีสานพัฒนา"อ้างผลประชุมพปช.เลือก"หมัก" ไม่ใช่มติพรรค

นายไพจิตร ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคพลังประชาชน แกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา กล่าวว่า ผลการประชุมพรรคเมื่อวานนี้ ยังไม่ถือเป็นมติของพรรค เพราะเป็นเพียงการประชุมกลุ่มย่อยเท่านั้น โดยจะมีการประชุมอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ก่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันศุกร์นี้(12 ก.ย.) ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการพูดคุยกับพรรคร่วมรัฐบาลมาโดยตลอด และขอขอบคุณที่พรรคร่วมรัฐบาลยังให้การสนับสนุนพรรคพลังประชาชนอยู่
นายไพจิตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ยอมรับว่าทางกลุ่มได้มีการพูดคุยกับพรรคประชาธิปัตย์บ้างแล้ว แต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะตัดสินใจไปร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อจัดตั้งรัฐบาล เพราะเสียงยังก้ำกึ่ง ซึ่ง ส.ส. ก็ต้องถามประชาชนในพื้นที่ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เห็นว่า นายกรัฐมนตรีคนใหม่จะต้องลดความขัดแย้งในสังคมได้ เพื่อหาทางออกให้กับบ้านเมือง แต่หากเป็นนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีก็คิดว่ายังมีช่องทางแก้ไขที่จะหาทางออกได้

"ชัย" นัดเปิดสภา12ก.ย.โหวตนายกฯ

เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 9 กันยายน นายวิทยา บูรณศิริ ประธานวิปรัฐบาลเดินทางเข้าพบนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่รัฐสภาเพื่อหารือขอเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิเศษ เพื่อเลือกนายกฯ โดยใช้เวลาหารือประมาณ 10 นาที จากนั้น นายวิทยาเข้าพบนายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

จนกระทั่งเวลา 18.15 น. นายพิทูรนำส่งโทรสารคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญไปมอบให้กับนายชัย ในห้องทำงาน จากนั้น นายชัยให้สัมภาษณ์ว่า นัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อโหวตเลือกนายกฯในวันที่ 12 กันยายน เวลา 09.30 น. โดยค่ำวันนี้จะส่งหนังสือเชิญ ส.ส.นัดประชุมตามที่ข้อบังคับการประชุมสภากำหนด ว่า ต้องให้สมาชิกทราบล่วงหน้า 3 วัน ส่วนใครจะเป็นนายกฯก็ต้องแล้วแต่สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เลือก

มติพปช.อุ้ม"สมัคร"นั่งนายกฯต่อ

ความเคลื่อนไหวทางการเมือง หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า นายสมัคร สุนทรเวช ขาดคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรี ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทำให้ต้องจับทิศทางความเคลื่อนไหวทางการเมืองในเรื่องต่างๆ รวมทั้งการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในวันที่ 12 กันยายนนี้

เมื่อเวลา 16.40 น. ที่ทำการพรรคพลังประชาชน (พปช.) อาคารไอเอฟซีที ถนนเพชรบุรี ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรค พปช. แถลงภายหลังการประชุมพรรค พปช. ว่า ที่ประชุม มีมติเป็นเอกฉันท์ที่จะโหวตเลือกนายสมัคร กลับเข้าดำรงตำแหน่งนายกฯอีกครั้ง เนื่องจากเป็นคนที่เหมาะสมที่สุด ที่ผ่านมานายสมัครเสียสละให้พรรคมามาก และสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความผิดร้ายแรง แต่เป็นความเข้าใจข้อกฎหมายคลาดเคลื่อน และไม่มีบทบัญญัติใดห้ามกลับมารับตำแหน่ง อีกทั้งนายสมัครยังเป็น ส.ส.สัดส่วน พปช. ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะกลับมาเป็นายกฯ

"พวกผมจะไม่ยอมจำนนต่อคนที่มีเจตนาร้ายต่อพรรคพลังประชาชน พวกผมจะต่อสู้ตามวิถีทางกฎหมายและเชื่อว่ามีคนจำนวนมหาศาลสนับสนุนให้รัฐบาลสู้ต่อไป" ร.ท.กุเทพกล่าว

ขณะที่นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา พปช.และรองโฆษกพรรค กล่าวว่า พปช.ต้องกอดคอกันไว้เพื่อพิสูจน์ให้ระบบตุลาการเห็นว่าข้อกล่าวหาเหล่านี้ทำอะไรพวกเราไม่ได้ การตัดสินเช่นนี้น่าอายชาวโลกว่านายกฯไทยต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะจัดรายการอาหาร

พปช.โห่ศาลรธน.ไม่เป็นธรรม

ข่าวแจ้งว่า การประชุมพรรค พปช. เป็นไปอย่างเงียบเหงา เนื่องจากนายสมัคร รวมถึงรัฐมนตรี พปช.ไม่ได้ร่วมประชุมด้วย ทั้งนี้ มีนายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล รองหัวหน้าพรรคทำหน้าที่ประธานในการประชุม ซึ่งระหว่างการประชุมมีการถ่ายทอดผลการวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ ผ่านจอโปรเจ็คเตอร์ขนาดใหญ่ และทันทีที่ตุลาการรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยเสร็จสิ้น ส.ส.พปช.ต่างโห่ร้องแสดงความไม่พอใจ โดยมี ส.ส.ของพรรคคนหนึ่งตะโกนว่าเราไม่ได้รับความเป็นธรรม เป็นไปตามที่ธงเขาตั้งไว้

จากนั้นที่ประชุมให้ประธานที่ประชุมขอมติพรรคเพื่อสนับสนุนนายสมัคร เป็นนายกฯต่อไป โดย ส.ส.เกือบทั้งหมดยกมือสนับสนุน และให้เร่งเปิดประชุมสภาเพื่อเลือกนายกฯโดยเร็ว เพราะเกรงว่าจะมีปัญหาตามมา ที่ประชุมจึงสรุปว่าจะเรียกประชุม ส.ส.พรรคเป็นการด่วนภายในวันที่ 10-11 กันยายนก่อนที่จะโหวตเลือกนายกฯ คนใหม่ในวันที่ 12 กันยายน
ข่าวแจ้งว่า

อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่มีการเสนอชื่อนายสมัคร มี ส.ส.บางส่วนตั้งข้อสังเกตว่าการเลือกนายสมัครกลับเข้ามาอีกครั้งจะทำให้การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีความรุนแรงมากขึ้น แต่มี ส.ส.บางส่วนตอบโต้ว่าหากกลุ่มพันธมิตรจะนำไปเป็นเงื่อนไขก็ให้ทำไป เพราะเราก็มีกลุ่ม นปช. สนับสนุนอยู่และพร้อมที่จะแสดงพลังเหมือนกัน

เผย"เลี้ยบ"กล่อม 5 พรรคร่วมอยู่หมัด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเสร็จการประชุมพรรค พปช.ช่วง 17.00 น.แล้ว แกนนำ ส.ส.พรรคจำนวนหนึ่ง ได้หารือร่วมกับแกนนำ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน และอดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย (ทรท.) บางคน เพื่อรอคำยืนยันจากแกนนำพรรค พปช. ที่อยู่ระหว่างประสานงานกับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 5 พรรคว่าจะยังร่วมรัฐบาลกับพรรค พปช.ต่อไปหรือไม่ จนกระทั่งเวลาประมาณ 17.30 น. จึงได้รับคำยืนยันจากแกนนำพรรค พปช.ว่า ประสานงานกับแกนนำทั้ง 5 พรรคเรียบร้อยแล้ว

นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รองโฆษก พปช. กล่าวว่า ที่ประชุม ส.ส.พรรค พปช. ได้หารือกันในช่วงเย็นอีกครั้ง โดยได้รับคำยืนยันจาก นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรค พปช. ทางโทรศัพท์ว่าได้ประสานงานกับพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 5 พรรคเรียบร้อยแล้ว โดยมีข้อสรุปร่วมกันว่าจะยังร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลและสนับสนุนนายสมัคร เป็นนายกฯอีกครั้ง

"อีสานพัฒนา" ค้าน "สมัคร" คืนเก้าอี้

รายงานข่าวแจ้งว่า ระหว่างการประชุมพรรค พปช.ที่มีการเสนอให้นายสมัคร เป็นนายกฯอีกครั้งหนึ่งนั้น แต่ส.ส.บางส่วน อาทิ พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา และนายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม หัวหน้ากลุ่มอีสานพัฒนา คัดค้าน โดยเห็นว่าควรหารือกันให้รอบคอบมากกว่านี้ เนื่องจากขณะนี้บ้านเมืองเกิดวิกฤต หากนายสมัคร กลับมาเป็นนายกฯอีกครั้งปัญหาความขัดแย้งอาจทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ยอมรับว่า ตนและนายไพจิต ศรีวรขาน เห็นว่า พปช.จะต้องพิจารณาตัวบุคคลที่จะมาเป็นนายกฯด้วยความรอบคอบ โดยส่วนตัวเห็นว่าผู้บริหารพรรคต้องเปิดใจขอความเห็นจากพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นในพรรคร่วมรัฐบาลได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯได้ เมื่อถามว่ามีการเสนอชื่อนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นนายกฯคนต่อไปหรือไม่ พ.ต.ท.สมชาย กล่าวว่า นายสมพงษ์มีความเหมาะสม เพราะเป็นคนดี ประนีประนอม รับฟังเหตุผลของทุกฝ่าย จากการที่ตนพูดคุยกับส.ส.ในพรรคก็ไม่มีใครขัดข้อง

เตรียม "2ส." สำรองถ้า"สมัคร"ถอดใจ

ด้าน พ.ต.ท.กานต์ เทียนแก้ว รองหัวหน้าพรรค พปช.กล่าวว่า พรรค พปช. และพรรคร่วมรัฐบาลยินดีสนับสนุนนายสมัครเป็นนายกฯต่อไป แต่ถ้านายสมัคร ถอดใจก็สำรองบุคคลของพรรคไว้แล้ว 2-3 คน เป็นชื่อที่ขึ้นต้นด้วยอักษร "ส."

นายสุรสิทธิ์ เจียมวิจักษณ์ ส.ส.เชียงราย พปช. กล่าวว่า หากเลือกนายสมัครเป็นนายกฯอีกรอบจะทำให้ปัญหาไม่จบ ตนเห็นว่าคนที่เหมาะสมต้องเป็นคนที่สามารถลดแรงกดดันได้ และมีความนิ่มนวล ซึ่งคือนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองหัวหน้า พปช. เนื่องจากเคยอยู่ในแวดวงตุลาการ ดังนั้น ย่อมประสานงานให้ปัญหาการเมืองคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีได้ แม้ว่านายสมชาย จะมีภาพใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ตามแต่วันนี้ความสงบสุขของบ้านเมืองเป็นเรื่องสำคัญ

นายวัฒนา เซ่งไพเราะ อดีตผู้สมัคร ส.ส.กทม. พรรค พปช.กล่าวว่า ผลจากการประชุมภาค กทม. มีมติสนับสนุนนายสมัคร เป็นนายกฯต่อไป ทั้งนี้ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย (ทรท.) ได้แจ้งมายังสมาชิกของ กทม.ว่านายสมัครยังมีคุณสมบัติที่จะเป็นนายกฯ ต่อไป

พปช.เหนือดัน "สมชาย-สมพงษ์" สู้

รายงานข่าวอีกกระแสแจ้งว่า ส.ส.กลุ่มอีสานพัฒนา จับมือกับกลุ่ม ส.ส.ภาคเหนือ ที่มีนายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตประธานสภา และนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล อดีตกรรมการบริหารพรรค ทรท. ให้การสนับสนุน ได้เรียก ส.ส.ป็นรายคนไปที่ ชั้น 8 อาคารที่ทำการพรรคไทยรักไทย เพื่อล็อบบี้ให้สนับสนุนนายสมชาย วงศสวัสดิ์ หรือนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นนายกฯ แทนนายสมัคร โดยยื่นเงื่อนไขเป็นผลประโยชน์พิเศษ พร้อมอ้างว่าเป็นกลุ่มสายตรง พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ให้ตัวแทนกลุ่มตัวเองไปตั้งพรรคเพื่อไทยสำรองไว้ เพราะคาดว่า พปช.จะถูกยุบแน่นอน ดังนั้นหากใครที่มีความเห็นเป็นอย่างอื่นก็จะไม่ส่งลงสมัคร ส.ส.ในนามพรรคเพื่อไทย

ข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ 2 กลุ่มนี้เจรจากับแกนนำพรรคชาติไทย เนื่องจากมีความพยายามที่จะสนับสนุนนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นนายกฯด้วย แต่ในที่สุดเมื่อมีมติที่ประชุมพรรคก็เอาตามเสียงส่วนใหญ่ที่สนับสนุนนายสมัคร

"สมพงษ์-สมชาย-เลี้ยบ" ปัดนั่งนายกฯ

ก่อนหน้านี้ ด้านนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกระแสข่าวจะเป็นนายกฯ สำรองว่า "ผมก็ไม่ทราบว่ามาได้อย่างไร สื่อมวลชนไปเขียนกันเอาเอง หรือจะเป็นเพราะชื่อ ส. เหมือนกัน"

ขณะที่ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต่างปฏิเสธข่าวที่ตัวเองเป็นนายกฯสำรอง ว่าไม่เป็นความจริง
นายยืนหยัด ใจสมุทร ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และทีมกฎหมายพรรค พปช. กล่าวว่า เมื่อนายกฯต้องพ้นไป บุคคลที่มาเป็นนายกฯรักษาการ ก็คือ รองนายกฯคนที่ 1 คือนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งรักษาการนายกฯสามารถยุบสภาได้ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดห้ามเอาไว้