เนื่องด้วยว่า.....ในโลกของเรา มีการเมืองการปกครอง อยู่หลายรูปแบบ
และแน่นอนว่า ทำให้เกิดความคิดที่แตกต่างกัน ตัวอย่างของประเทศที่น่าสนใจ 4 ประเทศนี้.....
ญี่ปุ่น,ไทย,อิหร่าน,อังกฤษ,อเมริกา
อิหร่าน
การเมืองการปกครอง- อิหร่านมีประวัติศาสตร์การปกครองแบบกษัตริย์มาเป็นเวลานาน กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของอิหร่าน คือ พระเจ้ามุฮัมมัด เรซา ชาห์ ปาฮ์ลาวี (Muhammad Reza Shah Pahlavi) เหตุการณ์ความวุ่นวายภายในประเทศทำให้พระเจ้าชาห์ ปาฮ์ลาวี เสด็จฯ ไปลี้ภัยต่างประเทศ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2522 และเสด็จสวรรคตเมื่อปี 2523 ที่อียิปต์- เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2522 อญาโตลลอฮ์ รูโฮลาห์ โคไมนี (Ayatollah Ruhollah Khomeini) ผู้นำศาสนาอิสลามนิกายชีอะต์ ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองประเทศอิหร่านเป็นสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (Islamic Republic of Iran) โดยใช้หลักการทางศาสนาอิสลามเป็นแนวทางในการปกครองประเทศ มีการปฏิบัติตนในสังคมรวมถึงการแต่งกายตามหลักศาสนาอิสลาม และต่อต้านอิทธิพลของโลกตะวันตก - หลังการเสียชีวิตของอยาโตลลาห์ รูโฮลาห์ โคไมนี ในปี 2532 อิหร่านมีการเลือกผู้นำสูงสุดคนใหม่ คือ อญาโตลลอฮ์ อะลี โฮไซนี คาไมนี (Ayatollah Ali Hoseini Khamenei) อย่างไรก็ดี การเมืองภายในอิหร่าน เริ่มมีการแข่งขันระหว่างกลุ่มการเมืองสายอนุรักษ์นิยมเคร่งศาสนา กับกลุ่มปฏิรูปหัวก้าวหน้าในรัฐสภา - เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2548 นายมาห์มู้ด อามาดิเนจ๊าด (Mahmoud Ahmadinejad) ซึ่งมีแนวคิดอนุรักษ์นิยม ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอิหร่าน โดยได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนร้อยละ 62 - ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มการเมืองสายปฏิรูปได้รับเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมากในสภาได้พยายามเปลี่ยนแปลงประเทศให้ทันสมัย ในปี 2547 กลุ่มอนุรักษ์นิยม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มเคร่งศาสนาอิสลาม ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในรัฐสภาเหนือฝ่ายปฏิรูป นโยบายของกลุ่มอนุรักษ์นิยมจึงทำให้อิหร่านกลับไปมีนโยบายอนุรักษ์นิยมและเคร่งศาสนามากยิ่งขึ้น โดยจะเห็นได้จากนโยบายของอิหร่านในการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ซึ่งได้รับการคัดค้านจากหลายประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา -ปัจจุบัน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ได้แก่ นายมาห์มูด อามาดิเนจาด (Mahmoud Ahmadinejad) ซึ่งมีแนวคิดอนุรักษ์นิยม โดยนายอามาดิเนจาด ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอิหร่าน เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2548 ด้วยคะแนนเสียงสนับสนุนร้อยละ 62
ไทย
ระบอบการปกครองของไทย
ประเทศไทยปกครองตามระบอบประชาธิปไตยโดยทางอ้อมหรือโดยผู้แทน แบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร-ไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 2 ว่า “ประเทศไทย มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
6. การปฏิรูปการเมือง
6.1 ความหมาย “การปฏิรูปการเมือง” คือการปรับปรุงแก้ไขปัญหาของกระบวนการทางการเมือง
ทั้งระบบ เพื่อให้นักการเมืองมีความสุจริต สามารถแก้ไขปัญหา ตลอดจนคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
นายนากาโซเน่ฯ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นกล่าวไว้ว่า “การปฏิรูปการเมืองนั้นแท้ที่จริงก็คือการปฏิรูปตัวผู้เป็นนักการเมืองนั่นเอง รวมทั้งทำอย่างไรจึงจะได้คนดีเข้ามาอยู่ในสภาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้”
6.2 ความเป็นมาของการปฏิรูปการเมือง
สาเหตุของการปฏิรูปการเมือง และการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 เกิดจากความไม่พอใจของชนชั้นนำ ที่ไม่พอใจ “พฤติกรรม” ของนักการเมืองพันธุ์เก่าบางคน ที่ประพฤติชั่วกันมาจน
เป็นประเพณี สร้างความเหลวแหลกสะสมให้แก่วงการการเมืองไทยเอาไว้ เป็นเวลากว่า 40 ปี จนทำให้บ้านเมืองล่มจนทางเศรษฐกิจ โดยในปี พ.ศ. 2540 ถึงกับต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศมาใช้เพื่อแก้ปัญหาหลายหมื่นล้านบาท
ประเพณีที่ไม่ถูกต้องที่นักการเมืองกลุ่มดังกล่าวสร้างไว้มีคนเรียกว่า “ธุรกิจการเมือง” ซึ่งเริ่มต้นด้วยวิธีการ “ทุ่มเททรัพย์สินเงินทอง” เพื่อซื้อเสียง หวังเอาชนะในการเลือกตั้ง ใครมีทรัพย์สินมาก มีการจัดการได้ดีก็จะได้รับชัยชนะ เมื่อได้รับการเลือกตั้งเข้าไปแล้ว ก็จะแย่งตำแหน่งกัน เพื่อให้ได้เป็นผู้บริหารงบประมาณ ใครได้เป็น “ฝ่ายบริหาร” ก็ “ถอนทุน” ด้วยวิธีเรียกเปอร์เซ็นในการจัดซื้อ จัดจ้างของโครงการพัฒนาต่าง ๆ และใช้วิธีการรักษาเก้าอี้โดยโยนเศษเงินในรูปโครงการให้กับผู้ที่ไม่ได้เป็นฝ่ายบริหาร บางครั้งก็โยนเศษเงินเป็นค่า “ยกมือ” สนับสนุนด้วยจำนวนเงินที่สูง เพื่อแลกกับการอนุมัติโครงการ
การใช้จ่ายเงินงบประมาณโครงการต่าง ๆ จึงใช้อย่างสิ้นเปลือง สุรุ่ย สุร่าย ไร้ประโยชน์บ้านเมืองทุกระดับ รวมทั้งระดับท้องถิ่น จึงเสียโอกาสที่จะสร้างความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก
ขอยกตัวอย่างการวิเคราะห์พฤติกรรมทางการเมืองดังกล่าวของนักการเมืองระดับชาติ จากข้อเขียนของ รศ.ดร.ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ ซึ่งเขียนไว้เมื่อ พ.ศ. 2538 ตีพิมพ์ในหนังสือ “ประชาธิปไตยโดยตรง” จัดพิมพ์ครั้งที่ 2 โดยสถาบันวิถีทรรศน์ มูลนิธีวิถีทรรศน์ เมื่อ ตุลาคม 2545 ไว้เป็น การประเทืองปัญญา จำนวน 2 ตอน ดังนี้
ตอนที่หนึ่ง รศ.ดร.ธงชัยฯ เขียนไว้โดยอ้างข้อเขียนของนายชัยอนันต์ สมุทวนิช อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ข้อความว่า “การเมืองเมืองไทยกลายสภาพเป็นธุรกิจการเมือง ที่นักธุรกิจการเมืองต้องลงทุนสูงเคยมีผู้ประเมินว่า ในบรรดาผู้ที่ชนะการเลือกตั้งที่ใช้เงินไม่เกิน 5 ล้านบาท มีเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น ร้อยละ 90 ของผู้ชนะการเลือกตั้ง ต้องใช้เงิน 15 ล้านบาทขึ้นไปถึง 120 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ของผู้ชนะ (ร้อยละ 50 ) จะใช้เงินประมาณ 40 – 50 ล้านบาท”
อีกตอนหนึ่ง รศ.ดร.ธงชัย ฯ วิเคราะห็ไว้ว่า “เมื่อนักการเมืองมีการลงทุนสูง ไม่ว่าจะเป็นทุนของตัวเอง หรือทุนของผู้อื่นก็ตาม สิ่งที่จะต้องเกิดตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ การถอนทุนจากโครงการต่าง ๆ ของรัฐ ที่มีงบประมาณภาครัฐทั้งหมดปีละ 7 – 8 แสนล้านบาท
ถ้าหักงบเงินเดือนและสวัสดิการของข้าราชการ กับงบใช้หนี้ไปประมาณ 50% ก็จะเหลือเป็นงบค่าใช้จ่ายในการลงทุนประมาณ 3 – 4 แสนล้านบาท คิดเป็นค่าคอมมิชชั่น (ค่าเปอร์เซ็น) 10 % จะเป็นเงินประมาณ 3 – 4 หมื่นล้านบาท คือกำไรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาดธุรกิจการเมืองทุก ๆ ปี”
เมื่อนักการเมืองทำธุรกิจการเมืองดังได้กล่าวมาแล้ว ทหารจึงถือโอกาสใช้เป็นข้ออ้างทำการ “ปฏิวัติ” เข้ามาทำการบริหารแทน เมื่อบริหารไประยะหนึ่งผู้คนก็เบื่อ เพราะทหารปกครองแบบ “เผด็จการ” ที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการปกครอง ไม่ยอมฟังเสียงประชาชน ประชาชนจึงเรียกร้องขอการปกครอง “ระบอบประชาธิปไตย” คืนมา ทหารจึงลงจากอำนาจ และยอมให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพรรคการเมือง และ “นักการเมือง” เข้ามาปกครองแทน โดยวิธีการเลือกตั้ง
“นักการเมือง” ก็นำ “ธุรกิจการเมือง” เข้ามาใช้อีก ทหารก็ใช้เป็นข้ออ้างทำการปฏิวัติอีก จึงจะเห็นได้ว่า นับตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2476 เป็นต้นมา เมืองไทยมีการปฏิวัติถึง 9 ครั้ง กบฎ 7 ครั้ง(รวม 16 ครั้ง) มีรัฐบาลถึง 50 ชุด (เฉลี่ยชุดละ 1 ปีเศษ) มีรัฐธรรมนูญถึง 15 ฉบับ (ไม่รวมฉบับที่แก้ไข) ฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 16 และจราจลรวม 3 ครั้ง ได้แก่กรณี 14 ตุลาคม 2516 กรณี 6 ตุลาคม 2519 และกรณีพฤษภาทมิฬ ปี 2535
จึงมีคนเรียกว่าเมืองไทยมี “วงจรอุบาทว์” จนทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยไม่ต่อเนื่อง และทำให้ประเทศชาติเสียโอกาสในการพัฒนา จากสภาพปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในระบบการเมืองไทยดังกล่าว ได้นำมาสู่การเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง เพื่อแก้ปัญหาในระบบการเมืองทั้งระบบด้วยกระแสเรียกร้องที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในปี 2539 จึงได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรม-นูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 มาตรา 211 เพื่อจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นทำหน้าที่ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา “การปฏิรูปการเมือง” ในประเทศไทยจึงได้เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยผ่านองค์กรขนาดใหญ่ซึ่งเรียกว่า “สภาร่างรัฐธรรมนูญ”ที่ประสงค์จะให้เป็นองค์กรของประชาชนอย่างแท้จริง และเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 ร่างรัฐธรรมนูญที่สภาร่างรัฐธรรมนูญมีส่วนสำคัญในการจัดทำขึ้น และถือเป็นร่างรัฐธรรมนูที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำขึ้นมากที่สุดในประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทย จึงได้รับการประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
6.3 แนวทางการปฏิรูปการเมืองที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 มุ่งปฏิรูปการเมืองไปสู่สังคมประชาธิปไตยที่ประชาชนมีบทบาท และมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น ควบคู่ไปกับเสถียรภาพและประสิทธิภาพของรัฐ โดยให้มีด่านสกัดนักการเมืองที่ไม่ดี 3 ด่าน เป็นเครื่องมือในการปฏิรูป คือ
ด่านแรก ปฏิรูปกระบวนการเข้าสู่อำนาจของนักการเมือง โดยจัดการเลือกตั้งให้สุจริตและเที่ยงธรรม
ด่านที่สอง ปฏิรูปกระบวนการใช้อำนาจของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยการควบคุมนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ใช้อำนาจอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ด่านที่สาม ปฏิรูปกระบวนการตรวจสอบถอดถอนนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ทุจริต ประพฤติมิชอบให้พ้นจากตำแหน่ง และดำเนินคดีอาญา
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีการตั้งองค์กรอิสระขึ้นเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการปฏิรูปการเมืองดังกล่าว
6.4 องค์กรอิสระและกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจของนักการเมืองตามรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เป็นรัฐธรรมนูญที่มุ่งก่อให้เกิดการปฏิรูปการเมืองขึ้น จึงได้จัดตั้งองค์กรตรวจสอบขึ้นหลายประเภทมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยองค์กรเหล่านั้นบางองค์กรมีฐานะเป็นศาลทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาทในเรื่องต่าง ๆ บางองค์กรแม้มิใช่ศาล แต่ก็มีอำนาจตัดสินใจ และบางองค์กรมีอำนาจแต่เพียงให้คำปรึกษาหรือแนะนำเท่านั้น องค์กรเหล่านี้ได้แก่
6.4.1 องค์กรตรวจสอบที่มีฐานะเป็นศาล เดิมทีนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าประเทศไทยมีศาลเพียงศาลเดียว คือศาลยุติธรรม ที่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาอรรถคดี แม้จะมีศาลทหาร แต่ก็เป็นศาลที่มีอำนาจหน้าที่อย่างจำกัด นอกจากนี้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญก็มิใช่ศาลอย่างแท้จริง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้จัดตั้งศาลขึ้นใหม่อีก 2 ประเภท ได้แก่ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง คู่ขนานกับศาลยุติธรรม รวมทั้งได้จัดตั้งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขึ้นด้วย ศาลดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1) ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจหน้าที่วินิจฉับกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้นไม่ให้ขัดรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ไม่ให้ซ้ำซ้อน วินิจฉัยเกี่ยวกับมติหรือข้อบังคับของพรรคการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และวินิจฉัยชี้ขาดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
(2) ศาลปกครอง มีอำนาจหน้าที่พิจารณาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชา หรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน และระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกัน อันเนื่องมาจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งต้องปฏิบัติหรือรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
(3) ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีอำนาจหน้าที่พิจารณาคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฏหมายอาญา หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
6.4.2 องค์กรตรวจสอบที่มิใช่ศาลแต่มีอำนาจตัดสินใจบางประการ มี 3 องค์กร คือ
(1) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดให้จัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรอิสระ มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมและดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้ง รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรม โดยมีอำนาจหน้าที่ครอบคลุมทั้งด้านการบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการ
ก. อำนาจบริหาร ได้แก่อำนาจในการควบคุมและดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ โดยมีอำนาจในการบริหารจัดการ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ปฏิบัติการทั้งหลายอันจำเป็นตามกฎหมาย ในการจัดการเลือกตั้งทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นรวมทั้งมีอำนาจในการแต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล หรือผู้แทนองค์กรเอกชน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
ข. อำนาจนิติบัญญัติ ได้แก่อำนาจในการออกประกาศกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
ค. อำนาจตุลาการ ได้แก่อำนาจในการสืบสวน สอบสวนไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้ง เช่น อำนาจสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ สั่งให้นับคะแนนใหม่สั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง สั่งเพิกถอนผลการเลือกตั้ง รวมทั้งอำนาจในการประกาศผลการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ เป็นต้น
(2) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
ก. ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวน พร้อมทั้งความเห็นเสนอวุฒิสภาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและบุคคลอื่นที่มาตรา 303 ของรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ว่ามีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมหรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย เพื่อให้วุฒิสภาถอดถอนออกจากตำแหน่ง
ข. ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งความเห็น ส่งไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามกฎหมายอื่น
ค. ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม เพื่อดำเนินการต่อไป ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ง. ตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามบัญชีและเอกสารประกอบที่ได้ยื่นไว้ถ้าตรวจสอบพบว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจงใจไม่ยื่นบัญชี หรือยื่นโดยมีข้อความอันเป็นเท็จ ก็เสนอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพ้นจากตำแหน่ง ถ้าตรวจสอบพบว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองร่ำรวยผิดปกติ ก็ยื่นต่อวุฒิสภาเพื่อถอดถอน หรือยื่นต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อพิจารณาโทษทางอาญา
(3) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เดิมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นหน้าที่ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งเป็นหน่วยงานในฝ่ายบริหาร สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี จึงไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอิสระ รัฐธรรมนูญใหม่ จึงแก้ไขให้เป็นคณะกรรมการและมีสำนักงานธุรการที่เป็นอิสระพ้นจากอำนาจบริหาร และให้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบบัญชีของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐว่าด้วยการใช้จ่ายเงินทั้งหลาย ว่าเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีประสิทธิภาพหรือไม่ ในกรณีที่ตรวจพบว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการไม่ถูกต้อง คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ก็สามารถสั่งการให้ดำเนินการให้ถูกต้องได้ แต่ในกรณีที่พบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินก็มีอำนาจลงโทษปรับ ส่งให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษทางวินัย หรือดำเนินคดีอาญาได้
6.4.3 องค์กรที่มีอำนาจให้คำแนะนำหรือคำปรึกษา มี 3 องค์กร คือ
(1) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นที่รวมของบุคคลในชาติที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านเศรษฐกิจและสังคม มีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือ
ก. ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหา ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม
ข. ให้ความเห็นต่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือแผนอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณี
การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจ
หน้าที่ตามกฎหมายของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น
- การปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ก็ตาม
ข. จัดทำรายงานพร้อมทั้งเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐสภา
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำ
อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเสนอมาตรการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการกระทำดังกล่าวเพื่อดำเนินการ ในกรณีปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอ ให้รายงานต่อรัฐสภา
เพื่อดำเนินการต่อไป
ข. เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ค. ส่งเสริมการศึกษา วิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
ง. ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วย ราชการองค์กรเอกชน และองค์กรอื่นด้านสิทธิมนุษยชน
จ. จัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศและเสนอต่อรัฐสภา 6.5 ประชาชนจะมีส่วนช่วยให้การปฏิรูปการเมืองประสบผลสำเร็จได้อย่างไร ประชาชนคือผู้ที่จะมีส่วนช่วยให้การปฏิรูปการเมืองประสบผลสำเร็จ ไม่น้อยกว่านักการเมืองหรือฝ่ายอื่น บทบาทที่ควรมีที่สำคัญได้แก่
6.5.1 บทบาทในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้ง โดยในทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง ในทุกระดับ จะต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างอิสระ ไม่อยู่ภายใต้อาณัติของผู้ใด ไม่ขายเสียงไม่ทำผิดกฎหมาย และจะต้องเลือกเอาคนดี คนเก่งและคนกล้า เข้าไปสู่เวทีการเมือง
6.5.2 บทบาทในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองในด้านอื่น เช่น
(1) เข้าไปมีส่วนร่วมในการรับรู้ความเป็นไปของการบริหารราชการ แผ่นดินทั้งในฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการให้มากขึ้น
(2) เข้าไปมีส่วนร่วมในการร่วมกันคิดกับองค์กรทั้งหลายที่รัฐธรรมนูญตั้งขึ้น
(3) เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกับองค์กรของรัฐในบางเรื่อง
(4) เข้าไปมีส่วนร่วมในการลงมือกระทำบางสิ่งบางอย่าง ร่วมกับองค์กรของรัฐที่รัฐธรรมนูญตั้งขึ้น
(5) เข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐทั้งฝ่ายการเมืองและราชการประจำ
*************************
อังกฤษ
สหราชอาณาจักรใช้ระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารผ่านคณะรัฐมนตรีซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล คณะรัฐมนตรีนั้นเลือกจากรัฐสภาและมีหน้าที่รับผิดชอบต่อรัฐสภาเช่นเดียวกัน รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรเป็นระบบสภาคู่ แบ่งเป็น 2 สภา คือ เฮาส์ออฟลอร์ดส เป็นสภาสูงที่มาจากการแต่งตั้ง และเฮาส์ออฟคอมมอนส์ เป็นสภาล่างที่มาจากการเลือกตั้ง โดยหลักการแล้วผู้นำของรัฐสภาคือพระมหากษัตริย์ สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ขนบธรรมเนียมประเพณี และกฎหมายรัฐธรรมนูญแยกกันไป พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นายกอร์ดอน บราวน์ จากพรรคแรงงาน ซึ่งเข้ารับตำแหน่งหลังจากนายโทนี แบลร์ ลาออกเมื่อกลางปี พ.ศ. 2550 ในส่วนของมกุฏราชกุมารที่จะครองราชย์สมบัติเป็นคนต่อไปจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ก่อน จึงจะมีความชอบธรรมในการเป็นมกุฏราชกุมารแห่งสหราชอาณาจักร เจ้าชายแห่งเวลส์ในปัจจุบันคือเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ซึ่งมิได้อาศัยอยู่ที่เวลส์แต่อย่างใด หากแต่อาศัยอยู่ที่สวน High Grove ใน Tetbury ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ
อเมริกา
ประวัติของประเทศสหรัฐอเมริกาก่อกำเนิดขึ้นจากการประกาศอิสรภาพของรัฐอธิปไตย 13 มลรัฐ คำประกาศดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 และอังกฤษยอมรับเอกราชของชาติอเมริกาในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ 1789 ต่อมาในปีเดียวกัน รัฐเหล่านั้นจึงได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อก่อตั้งสหพันธรัฐ โดยให้มีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง รัฐต่างๆ มอบอำนาจอธิปไตยหลายประการให้รัฐบาลกลางที่กรุงวอชิงตัน แต่สงวนอำนาจบางประการไว้ เช่น อำนาจนิติบัญญัติและการคลังในระดับมลรัฐ ดังนั้น ทุกมลรัฐจึงมีวุฒิสภาและสภาผู้แทนของตนเอง ( ยกเว้นเนแบรสกา ซึ่งมีสภาเดียว ) และมีอำนาจเก็บภาษีผู้มีภูมิลำเนาในมลรัฐชื่อประเทศ : ชื่อเต็ม United States of America เรียกว่า สหรัฐอเมริกาชื่อย่อ United States เรียกว่า สหรัฐฯอักษรย่อ US หรือ USAระบอบการปกครอง : สหพันธรัฐ (Federal Republic); แบบประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและเป็นหัวหน้ารัฐบาล (Chief Executive) ภายใต้รัฐธรรมนูญเมืองหลวง : กรุงวอชิงตัน (Washington,D.C.)การแบ่งการปกครอง : ประกอบด้วย 50 มลรัฐและ 1 District (District of Columbia ซึ่งเป็นที่ตั้งของ กรุงวอชิงตัน) ได้แก่ Alabama, Alaska (เป็นมลรัฐที่ใหญ่ที่สุด), Arizona, Arkansas, California, Colorado, Connecticut, Delaware, District of Columbia, Florida, Georgia, Hawaii, Idaho, Illinois, Indiana, Iowa, Kansas, Kentucky, Louisiana, Maine, Maryland, Massachusetts, Michigan, Minnesota, Mississippi, Missouri, Montana, Nebraska, Nevada, New Hamshire, New Jersey, New Mexico, New York, North Carolina, North Dakota, Ohio, Oklahoma, Oregon, Pennsylvania, Rhode Island (เป็นมลรัฐที่เล็กที่สุด), South Carolina, South Dakota, Tennessee, Texas, Utah, Vermont, Virginia, Washington, West Virginia, Wisconsin, Wyomingเขตการปกครองอื่นๆ : American Samoa, Baker Island, Guam, Howland Island, Jarvis Island, John Atoll, Kingman Reef, Midway Islands, Navassa Island, Northern Mariana Islands, Palmyra Atoll, Puerto Rico, Virgin Islands, Wake Islandระบบกฎหมาย :อยู่บนรากฐานของกฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษสิทธิในการเลือกตั้ง : อายุ 18 ปีขึ้นไปประมุขของประเทศ : นาย George Walker Bush เป็นประธานาธิบดี คนที่ 43 และหัวหน้ารัฐบาล เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2548 สังกัดพรรครีพับริกัน และมีนาย Richard B. Cheney เป็นรองประธานาธิบดีโครงสร้างทางการเมืองสหรัฐฯ มีพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค คือ พรรครีพับลิกัน (Republican) และพรรคเดโมเเครต (Democrat) การปกครองแบบสหพันธรัฐ แบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ แต่ละฝ่ายได้รับเลือกในลักษณะที่แตกต่างกัน และมีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน (checks and balances) ดังนี้ฝ่ายบริหาร : มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ได้รับเลือกจากการเลือกตั้งทั่วไป ร่วมกับรองประธานาธิบดีทุก 4 ปี ในวันอังคารแรกของเดือนพฤศจิกายน ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งผ่านคณะผู้เลือกตั้ง ( Electoral College ) จำนวน 538 คน ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 สมัย สมัยละ 4 ปี ประธานาธิบดีจะเป็นผู้ร่างรัฐบัญญัติต่อรัฐสภา และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้ทำสนธิสัญญาต่างๆ ตลอดจนแต่งตั้งผู้พิพากษา เอกอัครราชทูตและตำแหน่งต่างๆของฝ่ายบริหารตั้งแต่ระดับรองผู้ช่วยรัฐมนตรี (Deputy Assistant Secretary) ขึ้นไปฝ่ายนิติบัญญัติ : ประกอบด้วย 2 สภา คือวุฒิสภา มีสมาชิกจากแต่ละมลรัฐ มลรัฐละ 2 คน รวมเป็น 100 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 6 ปี โดยสมาชิกจำนวน 1 ใน 3 ครบวาระทุก 2 ปี วุฒิสภามีอำนาจให้ความเห็นชอบหรือปฎิเสธบุคคลที่ประธานาธิบดีแต่งตั้ง รวมทั้งคณะรัฐมนตรี และให้สัตยาบันสนธิสัญญา รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง (President of the Senate) คือนาย Richard B. Cheney หัวหน้าฝ่ายเสียงข้างมาก (Majority Leader)ในวุฒิสภา ได้แก่ นาย Bill First (R-Tennessee) หัวหน้าฝ่ายเสียงข้างน้อย (Minority Leader) ได้แก่ นาย Thomas A. Daschle (D-South Dakota)สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 435 คน แบ่งตามสัดส่วนของประชากรในมลรัฐ คือ ประชากร 575,000 คน ต่อ สมาชิก 1 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 2 ปี ประธานสภา (Speaker of the House) ได้แก่ นาย Dennis Hastert (R-Illinois) ผู้นำเสียงข้างมาก คือ นาย Tom DeLay (R-Texas) ส่วนผู้นำเสียงข้างน้อย คือ นาย Nancy Pelosi (D-California)ฝ่ายตุลาการ : ประกอบด้วย ศาลชั้นต้น (Curcuit Court) ศาลอุทรณ์ (Appeal Court)และศาลฎีกา (Supreme Court) ศาลฏีกามีอำนาจที่จะล้มเลิกกฏหมายใดๆและการปฎิบัติการของฝ่ายบริหารที่ได้วินิจฉัยแล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งมีทั้งหมด 9 คนนั้น ประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อและวุฒิสภาเป็นผู้ให้การรับรอง และดำรงตำแหน่งได้โดยไม่มีการกำหนดวาระวันเลือกตั้ง :การเลือกตั้งครั้งล่าสุด 2 พฤศจิกายน 2547การเลือกตั้งครั้งต่อไป 4 พฤศจิกายน 2551สถานการณ์การเมืองการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 ซึ่งมีนาย George W. Bush ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และตัวแทนจากพรรครีพับลิกัน และนาย John Kerry สมาชิกวุฒิสภา และตัวแทนจากพรรคเดโมแครต เป็นผู้แข่งขันหลัก ผลปรากฏว่า ประธานาธิบดี Bush ชนะการเลือกตั้ง และทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในสมัยต่อไปเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2548นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน 1. การเมืองการปกครอง1.1 ภายหลังเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2548 รัฐบาลสหรัฐฯ ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการประกาศสงครามต่อต้านการก่อการร้ายและการรักษาความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศ โดยได้ดำเนินมาตรการหลายอย่าง อาทิ การจัดตั้งกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Department of Homeland Security) การออกกฎหมายเพิ่มอำนาจรัฐในการสอดส่องและจับกุม และการปรับการจัดวางยุทธศาสตร์ทางการทหารเพื่อให้ตอบสนองต่อภัยที่เปลี่ยนไป รวมทั้งการขจัดสภาพการณ์ที่เอื้อต่อการก่อการร้าย โดยการเผยแพร่หลักประชาธิปไตยและเสรีภาพ1.2 ประธานาธิบดีบุชชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่สอง เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 51 ในขณะที่นายจอห์น แครี (John Kerry) ผู้แทนจากพรรคเดโมแครตได้คะแนนเสียงร้อยละ 48 อย่างไรก็ตาม สงครามอิรักซึ่งยืดเยื้อต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบต่อรัฐบาลและพรรรีพับลิกันโดยการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๙ พรรครีพับลิกันสูญเสียการครองเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาให้แก่พรรคเดโมแครต
ญี่ปุ่น
การเมืองการปกครอง
ประเทศญี่ปุ่นปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นประมุข แต่มีรัฐสภาเป็นสถาบันสูงสุดของรัฐ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าของคณะรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีได้รับเลือกจากสมาชิกรัฐสภา นอกจากนี้ตามรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นฉบับที่ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) หรือฉบับปัจจุบันได้มีการบัญญัติไว้ว่าสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ มิใช่องค์ประมุขและไม่มีอำนาจในการบริหารประเทศ
รัฐสภา (国会, คกไก) ประกอบด้วย 2 สภา คือ
สภาผู้แทนราษฎร (衆議院, ชูงิอิง) มีสมาชิก 480 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และ
วุฒิสภา (参議院, ซังงิอิง) มีสมาชิก 242 คน มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 6 ปี โดยเลือกตั้งจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุก 3 ปี
พรรคการเมืองได้แก่
พรรคเสรีประชาธิปไตย (自由民主党) เป็นพรรคแกนนำรัฐบาล มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร
294 ที่นั่ง (สตรี 26 คน) ในวุฒิสภา 111 ที่นั่ง (สตรี 12 คน) หัวหน้าพรรคคือนายยาซุโอะ ฟุคุดะ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
พรรคโคเมโตใหม่ (公明党) เป็นพรรคร่วมรัฐบาล มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 31 ที่นั่ง (สตรี 4 คน) ในวุฒิสภา
24 ที่นั่ง (สตรี 5 คน) หัวหน้าพรรคคือนายอะกิฮิโระ โอตะ
พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Democratic Party of Japan: DPJ : Minshuto) แกนนำฝ่ายค้าน มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 113 ที่นั่ง (สตรี 10 คน) ในวุฒิสภา 82 ที่นั่ง (สตรี 11 คน) หัวหน้าพรรคคือนายอิจิโร โอะซะวะ
พรรคสังคมประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Social Democratic Party of Japan : SDP) เป็นพรรคฝ่ายค้าน มีที่นั่ง
ในสภาผู้แทนราษฎร 7 ที่นั่ง (สตรี 2 คน) ในวุฒิสภา 6 ที่นั่ง (สตรี 1 คน) หัวหน้าพรรคคือนางมิซุโฮะ ฟุคุชิมะ
พรรคคอมมิวนิสต์ (Japan Communist Party - JCP) เป็นพรรคฝ่ายค้าน มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 9 ที่นั่ง (สตรี
2 คน) ในวุฒิสภา 9 ที่นั่ง (สตรี 3 คน) หัวหน้าพรรคคือนายคะซุโอะ ชิอิ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น