28 สิงหาคม 2551

เรื่องของตะเกียง...คำสอนของอากง


พักเรื่องเครียดๆมาอ่านเรื่องในมุมมองที่แตกต่างกันบ้างนะค้า....


ลองอ่านจนจบดูนะคร่ะ ถึงยาวไปหน่อย แต่พออ่านแล้วจะได้มุมมองที่เปลี่ยนไปค่ะ





สละเวลาลองอ่านมันซักนิดเถอะค่ะ มันไม่ได้น่าเบื่อ อย่างที่คิด....






ากงแก่ๆ คนหนึ่ง รับหน้าที่เลี้ยงดูหลานที่กำลังอยู่ในวัยซนทั้งสี่

หลานทั้งสี่ก็เล่นกันบ้าง ตีกันบ้างตามประสาเด็ก

แต่ครั้งหนึ่งรุนแรงจนถึงขนาดที่อากงต้องออกโรงห้ามปรามเมื่ออารมณ์ทุกฝ่ายสงบลง อากงจึงเรียกหลานๆมาล้อมโต๊ะคุยกัน

อากงบอก “เอาล่ะหลานๆ หลับตานะ หลับตา”พอหลานๆหลับตา อากงก็เดินกลับเข้าไปห้องเก็บของแล้วหยิบตะเกียงเก่าๆ ออกมาอีกอันหนึ่ง

อากงเปิดฝาครอบ จุดไฟ แล้วปิดฝาครอบ จากนั้นก็บอกหลานทั้งสี่ให้ลืมตา “บอกซิว่าโคมไฟสีอะไร”

เด็กทั้งสี่ลืมตาขึ้น เห็นเปลวไฟในตะเกียงสี ต่างแย่งกันตอบ

คนที่นั่งด้านหนึ่งบอกว่า สีแดง

อีกด้านหนึ่งบอก สีเขียว

อีกด้านหนึ่งบอก สีเหลือง

และอีกด้านหนึ่งเห็น สีน้ำเงิน

จากคำตอบเล็กๆ กลายเป็นเสียงถกเถียง และเริ่มทะเลาะกันอย่างรุนแรงขึ้นอีกครั้ง จนเกือบกลายเป็นกรณีพิพาท

อากงนิ่ง ปล่อยให้อารมณ์ราวกับพายุของหลานทั้งสี่เริ่มสงบลง

หลานคนหนึ่งจึงเอ่ยปากถามว่า “อากงของอย่างเดียวกัน ทำไมจึงมีตั้งหลายสี ?

อากงยิ้มแล้วบอกว่า “อากงจะทำอะไรให้ดู”

อากงเดินไปที่โต๊ะหยิบฝาครอบตะเกียงออก แล้วหมุนฝาครอบนั้นให้หลานๆดู

ปรากฏว่าฝาครอบตะเกียงนั้น ทั้งสี่ด้าน มีสีที่แตกต่างกันไป สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน

อากงถามอีกว่า “คราวนี้บอกอากงซิว่า เห็นตะเกียงเป็นสีอะไร ?”


“สีของไฟ” หลานๆตอบเป็นเสียงเดียวกัน

“อากงขอถามอะไรสักสองข้อ เมื่อสักครู่นี้ใครตอบผิด ?”

หลานๆตอบโดยพร้อมเพรียงกัน “ไม่มีใครผิด”


อากงจึงกล่าวต่อไปว่า “เจ้าทั้งสี่นั่งอยู่ในที่เดียวกัน มองของอย่างเดียวกันในเวลาเดียวกัน ยังเห็นไม่เหมือนกัน นั่นก็เพราะคนทุกคนมองตะเกียง จากมุมมองของตัวเอง มองในสิ่งที่ตัวเองเห็น และก็เชื่อมั่นในสิ่งที่เห็น”


“ต่อไปในอนาคต เวลาที่พวกหลานๆ ต้องเข้าไปอยู่ในสังคม จะต้องพบคนต่างๆ มากมายที่มองสิ่งเดียวกัน แต่กลับเห็นไม่เหมือนกัน เพราะมีมุมมองที่แตกต่างกัน ก็อย่าไปโกรธเขา”

“เพราะนั่นเป็นเพียงแต่เป็นการมองต่างมุม ไม่มีใครถูก ไม่มีใครผิด”

“และอย่าไปกลัวว่า ตัวเองจะผิดที่มองไม่เห็นเหมือนคนอื่น เพราะแต่ละคนก็จะมองเห็นสิ่งต่างๆ ด้วยขอบข่ายจากประสบการณ์ และจากสิ่งแวดล้อมของตนเอง”

“ถ้าเราอยากเข้าใจว่า ทำไมคนอื่นถึงคิดแบบนั้น เห็นแบบนั้น ก็จงเดินไปที่มุมของเขา เราก็จะรู้ว่าเขาคิดอะไร ทำให้เราเข้าใจคนอื่นได้มากขึ้น และเมื่อเราเข้าใจคนอื่นมากขึ้น จะทำให้คนอื่นยอมที่จะเดินมาและเข้าใจหลานเช่นกัน”



อากงถามต่อ “แล้วสิ่งที่เห็นครั้งแรกกับครั้งหลังเป็นของอย่างเดียวกันไหม”


หลานๆตอบ “อย่างเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน”

“อย่างไร ?” อากงถาม

หลานตอบว่า “ครั้งแรกเราเห็นแต่ฝาครอบตะเกียงแต่ครั้งหลังเราเห็นเปลวไฟที่อยู่ในตะเกียง”

อากงจึงกล่าวว่า

“นี่เป็นการบอกว่า จงอย่ามองสิ่งต่างๆ เพียงแค่ที่เห็น...แต่จงเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างที่มันเป็น”

ขอบคุนมากๆน้ะคร๊า..>>> http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=iamcake&date=14-04-2006&group=4&gblog=6

จากเรื่องที่อ่านนี้นะค่ะ หวังว่าผู้ที่ได้อ่านจนจบถึงตรงนี้ ก็คงจะได้อะไรไปหลายๆอย่างนะค่ะ ลองเอากลับไปคิดทบทวนนะค่ะว่าสิ่งที่อากงพูดไปนั้น เป็นเรื่องจริงหรือปล่าว...แร้วลองเอาไปประยุกต์ใช้กับสังคมของเราปัจจุบันนะค่ะ สุดท้ายคร้า ขอขอบคุนทุกๆคนที่นั่งอ่านมาถึงนี่นะค่ะ แล้วเจอกัลครั้งหน้าคร้า







~whitetiiz~5131601223

11 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ฮ้า....

ออกมาก้สวยพอดูได้

ฮ่าๆๆๆ

อัพเองเม้นเอง

เกิ้กๆๆๆ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

หวัดดีค่ะ
เนื้อหาดีนะค๊ะ ได้สาระดี


เดี๋ยวจะเข้ามาดูบ่อยๆนะ


อัพบ่อยๆล๊ะกันจ้า

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ความยุติธรรมอะชอบอยู่ แต่ความยุติธรรมไม่ได้ถูกเสมอ เพียงแต่ต้องยุติ อย่างเป็นธรรมเท่านั้นบางทีอาจจะไม่ต้องถูกต้องก็ได้เพราะความถูกต้องเป็นสำนึกของมนุษย์ซึ้งสำนึกมนุษย์ย่อมต่างกัน

เพียงแต่ต้องยุติสิ้นสุด และเป็นธรรมที่สุดเท่าที่จะมีได้

ยุติธรรมไม่ใช่คำที่ดีเลยทีเดียวแต่มีไว้ดีกว่าไม่มีเท่านั้น

อย่ากลัวคนตำหนิ จงกลัวท่านเองจะทำผิด จะดีกว่า เท่านี้ก็ไม่ต้องใช้ความยุติธรรมแล้ว ไม่ต้องไปเรียกร้องหามันที่ไหนกระบวนการยุติธรรมขอให้เป็นวิทีสุดท้ายหากไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช่ไกร่เกรี่ยกันโดยสันติดีกว่ามาร้องหาความยุติธรรม

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เออลืมไปเราเป็นคนที่เม้นเรื่องยุติธรรมนะแต่ไม่เกี่ยวกับตะเกียงหรอก เราเคยอ่านแล้วเรื่องตะเกียง บทความนี้ดีจิง

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จากข้อความด้านบน ผมออกจะเห็นด้วยในส่วนที่ว่า "ความยุติธรรมอะชอบอยู่ แต่ความยุติธรรมไม่ได้ถูกเสมอ"
เพราะอย่างที่ว่าไปแล้วว่า ความยุติธรรมของคนเรานั้นไม่เท่ากัน อยู่ที่สามัญสำนึก ซึ่งก่อให้เกิดกฎหมายขึ้น (ขอข้ามไปก่อน)

แต่ในส่วนที่ว่า "ไกร่เกรี่ยกันโดยสันติดีกว่ามาร้องหาความยุติธรรม" นั้น ผมไ่ม่ค่อยจะเห็นด้วยนักนะครับ
เพราะว่า การไกล่เกลี่ยโดยสันตินั้นเป็นเรื่องของคนสองฝ่าย(หรือมากกว่านั้น) ซึ่งคาดได้ว่าอาจเกิดการละเมิดบุคคลอื่นๆ ต่อไปก็ได้
แต่ถ้าหากความยุติธรรมเกิดขึ้ันในวงกว้าง กล่าวคือ สามัญสำนึกเท่าเทียมกันแล้วล่ะก็ นั่นหมายถึงการคำนึงถึงผู้อื่นในหลายๆด้านด้วย เพราะฉะนั้นจะบอกว่า ความยุติธรรมไม่จำเป็นก็ไม่ได้ครับ

ส่วนในเนื้อเรื่องต้องบอกว่าน่ารักดีครับ สอนใจดี

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

บล๊อคสาระดีครับ แต่ขอติเรื่องภาษานิด ไม่ควรใช้ภาษาไทยให้วิบัติเช่น "คร่ะ" หรือ "คร้า"นะครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ดีมาก ๆๆๆอ่ะ

คนเราต้องมองหลาย ๆ มุม

มีทั้งดานดีด้านไม่ดี คละกันไป

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ดีค่ะ

จะได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันบ้าง

จะมองด้านที่คนอื่นเป็นบ้าง

ขอบคุณนะคะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อ่าๆ

อ่านแล้วนึกถึงสังคมไทยตอนนี้เลยอ่า

เข้าใจนะในหลายๆสิ่ง หลายๆอย่าง

ที่เกิดปัญหาขึ้น

ก็เพราะเรามองมันจากคนละมุมมอง

อยากให้คนที่สร้างปัญหาอยู่ตอนนี้ได้อ่านบทความนี้จัง

น่าจะช่วยประเทศไทยให้สูงขึ้นได้เยอะนะ

^^"~

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เป็นเรื่องที่ดีเลยทีเดียวแหละ




ให้ข้อคิดดีอ่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

-v- ขอบคุณค่ะสำหรับบทความ บทความดีๆ ที่สอนข้อคิดแก่เรา มันก็จริงที่เราที่คนเรามองสิ่งเดียวกัน แต่คิดไม่เหมือนกัน เราจะเชื่อมั่นจากมุมมองของเรา ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมจากตัวเรา ถ้าเราอยากเห็นมุมมองเค้า เราก็ต้องเดินไปอยู่ในมุมของเค้า เพราะมุมมองของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่มีใครถูกไม่มีใครผิด เพราะแต่ล่ะคนมีเหตุผลต่างกัน เค้าจึงบอกกันว่าอย่ามองสิ่งต่างๆจากภายนอก เพราะสิ่งที่เราเห็นอาจจะไม่เป็นอย่างที่เราคิด

พรลีณา แย้มดอนไพร
5131601418